เรื่องราวของครีมกันแดดนั้นมีมามากมาย มาดามหามาเล่าได้ไม่รู้จบจริงๆ ในคราวนี้มาดามจะมาเล่าถึงครีมกันแดดทั้ง 3 ประเภท Physical, Chemical และ Hybrid ว่าแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร และจะนำมาวิเคราะห์หาจุดแตกต่างให้คุณได้ทราบกัน จะได้เห็นภาพของทั้งสามแบบนี้ได้อย่างชัดเจนขึ้น นอกจากนี้มาดามยังมีวิธีการใช้ครีมกันแดดทั้ง 3 แบบนี้ให้ถูกต้องอีกด้วย ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นตามมาดามมาดูกันเลย!!
ทำความรู้จักครีมกันแดด Physical, Chemical และ Hybrid
ก่อนที่เราจะทราบได้ว่าทั้ง 3 แบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เราจะต้องไปดูกันก่อนว่าแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ดังนี้
1. ครีมกันแดดแบบ Chemical หรือครีมกันแดดดูดซับรังสี
มาดามขอเปิดด้วยครีมกันแดด Chemical ก่อนเลยเพราะมีมายาวนานที่สุดในบรรดาทั้ง 3 แบบ ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะขายครีมกันกันแดดประเภทมนี้ ทำให้หาได้ง่ายและมีราคาที่ย่อมเยา หลายๆ แบรนด์จึงเลือกขายครีมกันแดดแบบนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ จุดเด่นของครีมกันแดดแบบนี้นั่นก็คือการ“ดูดซับรังสี” นั่นเอง ทำให้รังสียูวีบางส่วนจากแสงแดดไม่กระทบผิวหนัง และเปลี่ยนรังสี UV เป็นความร้อนแทนหลังการดูดซับไว้ โดยความร้อนที่ปล่อยออกมานี้ไม่เป็นอันตรายกับเราแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามครีมกันแดดประเภทนี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้สำหรับบางคน อีกทั้งยังต้องหมั่นทาทุก 1-2 ชั่วโมงอีกด้วย หากต้องออกแดดกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ เพราะสารที่ผสมเอาไว้ดูดซับรังสีนั้นมีปริมาณที่จำกัด และหากหมดคุณสมบัติแล้ว จะทำให้รังสีที่ดูดซับมากระทบกับผิวหนังทั้งหมด
สารที่ใช้ผสมสำหรับครีมกันแดด Chemical
สำหรับสารที่ใช้ผสมนั้นมีมามากเลย อาทิ
- oxybenzone
- PABA
- salicylates
- cinnamates
- Avobenzone
- Octisalate
- Octocrylene
- Homosalate
- Octinoxate
ข้อดีของครีมกันแดดแบบ Chemical
- ราคาถูก
- ไม่มีสีหรือมีสีอ่อนๆ
- เนื้อครีมบางเบา ไม่หนักผิว
2. ครีมกันแดดแบบ Physical หรือ ครีมกันแดดสะท้อนรังสี
มาต่อกันด้วยครีมกันแดดแบบ Physical หรือครีมกันแดดสะท้อนรังสีนั่นเอง มีส่วนผสมหลักๆ สองอย่าง คือ zinc oxide หรือ titanium dioxide ซึ่งส่วนมากจะเป็นสีขาวนั่นเอง ทำให้มีน้ำหนัก และเหนอะหนะมากกว่าแบบ Chemical มีคุณสมบัติในการทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันรังสี UV ได้เกือบทั้งหมด สะท้อนและกระจายรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง หลังจากทาจะรู้สึกได้ว่าเนื้อครีมถูกดูดซึมเข้าผิวหนังเพียงเล็กน้อย และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ปัจจุบันครีมกันแดดกกลุ่มนี้กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก จน FDA ของสหรัฐอเมริกายังแนะนำให้หันมาใช้ครีมกันแดดกลุ่มนี้ เพราะโดดเด่นเรื่องความปลอดภัย และกันแดดได้จริงนั่นเอง
สารที่ใช้ผสมสำหรับครีมกันแดด Physical
มีอยู่เพียง 2 ส่วนผสมหลักๆ คือ
- zinc oxide
- titanium dioxide
ข้อดีของครีมกันแดดแบบ Physical
- เจือจางหรือสลายตัวได้ยากเมื่อสัมผัสกับแสงแดด จึงไม่ต้องทาซ้ำบ่อยๆ
- เกิดการระคายเคืองได้ยาก ไม่เกิดอาการแพ้หรือเกิดการแพ้ได้ยากมากๆ
3. ครีมกันแดดแบบ Hybrid (chemical + physical) หรือครีมกันแดดแบบผสม
เดินทางมาถึงครีมกันแดดประเภทสุดท้ายกันแล้วกับครีมกันแดดแบบ Hybrid หรือครีมกันแดดแบบผสมนั่นเอง โดยเป็นครีมกันแดดแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมาได้ไม่กี่ปี่เท่านั้น และได้รับความสนใจไม่น้อยเลย สำหรับคุณสมบัติของครีมกันแดดประเภทนี้ แน่นอนว่าเป็นการวมเอาคุณสมบัติในการดูดซับและสะท้อนรังสีมาผนวกเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยลดผลค้างเคียงที่อาจทำให้เกิดการแพ้ง่ายอีกด้วย สำหรับเนื้อผลิตภัณฑ์จะเป็นสีขาวน่าใช้มากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการรวมข้อดีและลดข้อด้อยของครีมกันแดดทั้งสองประเภทที่มาดามกล่าวไปแล้ว ดังนั้น ในปัจจุบัน ครีมกันแดดที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจึงเป็นประเภทนี้นั่นเอง
สารที่ใช้ผสมสำหรับครีมกันแดด Hybrid
สำหรับสารที่ใช้ผสมนั้นส่วนใหญ่ที่ใช้กันจะเป็น Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine หรือ Methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylpheno และอื่นๆ
ข้อดีของครีมกันแดดแบบ Hybrid
- สามารถดูดซับและสะท้อนรังสีได้ในครีมกันแดดตัวเดียว
- เนื้อมีสีขาว น่าใช้
- ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ยาก
- คุ้มค่า เพราะได้ทั้ง 2 คุณสมบัติในตัวเดียว
สรุปข้อแตกต่างระหว่างครีมกันแดด Chemical, Physical และ Hybrid
จากข้อมูลข้างต้นมาดามจะขอสรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ด้านเนื้อสัมผัส
ขอบคุณภาพจาก: Sista Café และ Wishtrend
เนื้อสัมผัสของทั้ง 3 แบบนั้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ดังนี้
- แบบ Chemical – จะมีเนื้อใสที่สุด (วงกลมที่ 1)
- แบบ Physical – จะมีเนื้อสีขาว (วงกลมที่ 2)
- แบบ Hybrid – จะมีเนื้อสีขาวแบบ Physical แต่จะมีความนวลและน่าใช้มากกว่านั่นเอง (วงกลมที่ 3)
2. ด้านคุณสมบัติในการป้องกัน
อีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างกันนั่นก็คือ คุณสมบัติในการป้องกันนั่นเอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- แบบ Chemical – จะใช้การดูดซับรังสี UV แล้วเปลี่ยนเป็นความร้อนที่ไม่อันตรายกับเรา
- แบบ Physical – จะเป็นการสร้างเกราะป้องกันให้ผิว และสะท้องรังสี UVA และ UVB ออกไป
- แบบ Hybrid – เป็นการรวมเอาทั้งสองคุณสมบัติข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งดูดซับและสะท้อนในเวลาเดียวกัน
3. ผลข้างเคียงจากการทาครีมกันแดด
สำหรับผลข้างเคียงทานั้นมีความเหมือนและแตกต่างกันบางส่วน โดยส่วนผสมแบบ Physical และ Hybrid นั้นมีความปลอดภัยและก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ยากกว่าแบบ Chemical
4. ความคงทนยาวนาน
และสุดท้ายนั่นก็คือความคงทนนั่นเอง สำหรับความคงทนยาวนานที่มาดามพูดถึงนี้เป็นความคงทนเมื่อต้องเจอกับแสงแดดกลางแจ้ง โดยแบบ Chemical นั้นเมื่อออกไปกลางแจ้งจะอยู่ได้ไม่นาน ต้องคอยเติมทุกๆ 1-2 ชั่วโมง แต่แบบ Physical และแบบ Hybrid จะสลายตัวได้ยากทำให้มีความคงทนและเหมาะกับการออกแดดมากกว่านั่นเอง
วิธีใช้ครีมกันแดดให้มีประสิทธิภาพ
โดยหลักๆ แล้ววิธีใช้ครีมกันแดดจะประกอบด้วยกัน 3 ขั้นตอน ดังนี้
- ควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากห้อง 15 นาที เพื่อให้เนื้อครีมซึมลงสู่ผิวได้อย่างเต็มที่ซะก่อน
- เพื่อให้ทาได้ทั่วหน้าและลำคอ ต้องทากันแดด 2 นิ้วมือ นิ้วละ 2 ข้อนะ (มีคนเข้าใจผิดทา 1 นิ้ว 2 ข้อนิ้ว อันนั้นผิดนะ)
- ถ้าอยู่กลางแจ้งต้องทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงนะ
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าการทาใช้งานได้อย่างถูกต้องนั้นจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเสมอไป คุณจะต้องเลือกครีมกันแดดให้เหมาะสมกับผิวด้วย โดยรายละเอียดในเรื่องนี้ มาดามเตรียมพร้อมไว้ให้คุณแล้ว ห้ามพลาดล่ะ!! คลิ้กที่ลิงก์ด้านล่างแล้วไปดูกันได้เลย
ครีมกันแดดหาสุดพรีเมี่ยมหาซื้อได้ที่ Central Online!!
อย่างที่มาดามได้เล่าไปหลายๆ ครั้งว่า Central Online นั้นเป็นแหล่งรวมสกินแคร์สุดพรีเมี่ยมมากมาย และแน่นอนว่ารวมไปถึง “ครีมกันแดด” ด้วย มาดามเองก็มีลิสต์เตรียมไว้ให้คุณแล้วเช่น โดยเป็น 10 ครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมสูงสุดใน Central Online จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย!!
และนี่ก็คือเรื่องราวดีๆ ที่มาดามนำมาฝากคุณในครั้งนี้ หวังว่าคงพอจะรู้จักครีมกันแดดทั้ง 3 ประเภทมากยิ่งขึ้นแล้ว และสามารถบอกได้ว่าพวกมันแตกต่างกันอย่างไร สำหรับใครที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อสามารถไปช้อปกันได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าพรีเมี่ยมที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย
ขอบคุณข้อมูลจาก: Siamchemi และ Kaani
เรียบเรียงโดย: MadameLisa