อุ๊ย!! ตากระตุกขางขวาอีกแล้วต้องเป็นลางไม่ดีแน่ๆ ต้องไปทำบุญซะหน่อยแล้ว มาดามเชื่อว่าความเชื่อนี้ทุกคนน่าจะทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่เคยทราบกันหรือไม่ว่าการที่ตากระตุกนั้นไม่ได้สื่อถึงเรื่องโชคลางแต่ประการใด แต่เป็นสัญญาณเตือนภัยของร่างกายที่คุณจะมองข้ามไม่ได้ ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนภัยอะไรนั้น ตามมาดามมาดูกันเลย!!
ความเชื่อเรื่องตากระตุกข้างขวา!?
ก่อนจะไปเข้าเรื่องเข้าราวของเรานั้น มาดามก็มีเกร็ดความรู้มากฝากคุณกันอีกเช่นเคย โดยเราจะมาพูดถึงความเชื่อเรื่องตากระตุกข้างขวากัน โดยเราคนไทยเชื่อกันว่าใครที่ตากระตุกข้างขวานั้นจะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่ใช่แบบนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาด้วย ดังนี้
อาการ | ช่วงเวลา | คำทำนาย |
ตากระตุกข้างขวา | ตื่นนอน – 9.00 น. | จะมีญาติพี่น้อง บริวาร มาเยี่ยม |
ตากระตุกข้างขวา | 9.01 – 12.00 น. | ญาติจะนำสิ่งของบางอย่างมาให้ |
ตากระตุกข้างขวา | 12.01 – 16.00 น. | สิ่งที่มุ่งหวังจะประสบความสำเร็จ |
ตากระตุกข้างขวา | 16.01 – 19.00 น. | จะได้พบเพื่อนหรือญาติสนิทที่ห่างหายกันไปนาน |
ตากระตุกข้างขวา | 19.01 – ก่อนนอน | ระวังปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว |
จากข้อมูลข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องดีหรือเรื่องทั่วไปเท่านั้น จะมีแย่ก็ตอนช่วงกลางคืนแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าใครตากระตุกข้างขวา อาจจะต้องดูช่วงเวลาเป็นหลักแล้วล่ะ
นอกจากนี้แล้วบางที่เขาเชื่อเรื่องตาเขม่นกันด้วยนะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
อาการ | คำทำนาย |
เขม่นหลังตาขวา เปลือกตาขวากระตุก | จะมีคนนำโชคลาภ นำเงินทองมาให้ |
เขม่นหลังตาซ้าย เปลือกตาซ้าย | มีผู้หญิงกำลังนินทาหรือบ่นถึงคุณอยู่ |
เขม่นกึ่งกลางตา กึ่งกลางตากระตุก | จะมีคนกำลังเดินทางมาหา หรือติดต่อมาหา |
ขม่นตาซ้ายเบื้องต่ำ ตาซ้ายด้านล่างกระตุก | มีคนกำลังใส่ร้าย หรือพูดถึงคุณในทางที่ไม่ดีมีความหมายว่า |
ตากระตุกคืออะไร
ก่อนที่เราจะไปกันต่อ มาดามอยากให้รู้จักกันก่อนว่าตากระตุกตามหลักวิทยาศาสตร์คืออะไรกันแน่ โดยเจ้า อาการตากระตุกนี้(eyelid twitch) ก็คือ อาการที่เปลือกตานั้นเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นกับ “เปลือกตา” ซึ่งเป็นได้ทั้งเปลือกตาล่างและเปลือกตาบน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่เปลือกตาด้านบน โดยปกติการกระตุกเกร็งของเปลือกตานั้นจะไม่รุนแรงมากนัก โดยทั่วไปมักจะไม่มีความอันตราย และสามารถหายเองได้
สาเหตุของอาการตากระตุก
ทีนี้เรามาดูกันต่อว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตากระตุกนั้นมีอะไรบ้าง
- พักผ่อนไม่เพียงพอ – เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักเลยก็ว่าได้ เพราะเนื่องจากกล้ามเนื้อตาต้องถูกใช้งานจนมากเกินปกตินั่นเอง อย่างน้อยควรหลับพักผ่อนประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวันค่ะ
- มีความเครียดสะสม – ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางตัว ส่งผลต่อกล้ามเนื้อตาด้วยนั่นเอง
- ดื่มคาเฟอีนมาเกินไป – เมื่อเราดื่มกาเฟอีนมากเกินไป ทำให้เราหลับยากในตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอนั่นเอง
- จ้องแสงจ้าเป็นเวลานาน – เมื่อจ้องแสงจ้านานๆ จะทำให้ดวงตาล้า ตาแห้งนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากแสงจอมือถือ แสงจอคอมพิวเตอร์
- สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ – เมื่อดื่มากเกินไป เพราะเมื่อเราเมาแล้ว การมองเห็นแสงจ้าจะลดลง แล้วทำให้เกิดอาการตากระตุกนั่นเอง
- ภูมิแพ้ – ผู้ที่มีภูมิแพ้ มักมีอาการตาแห้ง ทำให้เกิดอาการตากระตุก เนื่องจากฮีสตามีนจะถูกปล่อยผ่านทางเนื้อเยื่อ อันเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ
- ขาดสารอาหาร – การขาดสารอาหาร อาทิ วิตามิบี 12 ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำให้มีอาการตากระตุก
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด – หากมีอาการตากระตุก อาจเป็นผลข้างเคียงจากตัวยา ไม่ต้องตกใจไป แต่ควรปรึกษาแพทย์ด้วยว่าผลข้างเคียงนี้มีอันตรายไหม
วิธีป้องกันอาการตากระตุก
การป้องกันอาการตากระตุกสามารถทำได้ด้วยกัน 4 วิธีดังนี้
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรพักผ่อนให้เพียงพอราวๆ 7-8 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการตากระตุกได้
2. อย่าจ้องหน้าจอนานเกินไป พักสายตาบ้าง
ไม่ว่าจะหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อปคุณไม่ควรจะจ้องนานเกินไปนัก ควรจะใช้หลัก 20 20 20 เสมอ กล่าวคือ หลังจากจ้องหน้าจอนาน 20 นาที ให้พักสายตา 20 วินาที และมองออกไปไกลๆ ราว 20 ฟุต เพียงเท่านี้สายตาของคุณก็ได้รับการพักผ่อนแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากอยากให้สายตาของคุณทำงานหนักน้อยลงก็ให้หา แว่นกรองแสง มาใช้จะดีที่สุด
ช้อปแว่นกรองแสงจาก Central App
BEWELL แว่นตัดแสงสีฟ้า กรอบเหลี่ยม สีเทา ราคา: 1,395 บาท | MI แว่นกรองแสงคอมพิวเตอร์ ดำ Mi ราคา: 699 บาท |
3, อย่าเครียด
ความเครียดเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการตากระตุกได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นทำจิตใจให้สบาย อย่าเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไปในแต่ละวัน
4. ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเองก็มีผลกับอาการตากระตุกเช่นกัน ดังนั้น หากลดเครื่องดื่มเหล่านี้ได้ก็จะดี แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าดื่มมากจนเกินไป
ต้องพบแพทย์เมื่อเจออาการเหล่านี้
แม้ว่าอาการตากระตุกโดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่หากเกิดกรณีเหล่านี้ให้ไปพบแพทย์ทันที
- มีอาการต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ หรือยาวนานกว่านั้น
- การกระตุกเพิ่มมากขึ้น จากตาขวาไปตาซ้าย หรือกระจายไปตามใบหน้า
- บริเวณที่กระตุกเกิดการหดเกร็ง
- บวมแดง มีสารคัดหลั่งไหลออกจากดวงตาฃ
- เปลือกตาด้านบนห้อยลงมารบกวนการมองเห็น
- เปลือกตาปิดสนิททุกเครื่อง เมื่อตากระตุก
ในบรรดาที่มาดามกล่าวมานี้ อาการที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือการที่เปลือกตาด้านบนห้อยลงมา เพราะเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง อาทิ โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เป็นต้น ถึงจะพบได้น้อย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการนี้ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดทันที โดยภาวะแทรกซ้อนของตากระตุก มาดามก็คนมาให้คุณได้ดูกันเลย ดังนี้
ชื่อโรค | รายละเอียด |
โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy) | เกิดจากการเส้นประสาทที่ใบหน้า อักเสบ และบวม มักจะเกิดร่วมกับอาการตากระตุก |
ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (dystonia) | ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ เมื่อเคลื่อนไหวจะรู้สึกถึงความผิดปกติ รวมไปถึงทำให้ตากระตุกด้วย |
โรคคอบิดเกร็ง (cervical dystonia) | คล้ายๆ กับอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็ง แต่จะเกิดบริเวณคอ |
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) | เป็นโรคของระบบประสาทที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านการมองเห็น |
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) | ทำให้ร่างกายสั่นตลอดเวลา รวมไปถึงหนังตาด้วยเช่นกัน |
โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s syndrome) | เกิดวามผิดปกติทางระบบประสาทจนทำให้เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงดวงตาด้วย |
Meige Syndrome | พบได้น้อย เกิดขึ้นที่ระบบประสาท ทำให้มีการเคลื่อนไหว หดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณ แก้มทั้ง 2 ข้าง ปาก ลิ้น และลำคอ |
จะเห็นได้ว่าอาการตากระตุกนั้น “น่ากลัว” กว่าที่หลายๆ คนคิด ดังนั้น เมื่อเริ่มเกิดอาการให้สำรวจตัวเองทันทีว่ามีอาการเสี่ยงตามที่มาดามได้บอกไปแล้วข้างต้นหรือไม่ จะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที สำหรับใครที่อยากจะไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถไปกันต่อได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าพรีเมี่ยมที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย
ขอบคุณข้อมูลจาก: Thairath, Wongai, hdmall, SamitivejHospital
เรียบเรียงโดย: MadameLisa