การเลี้ยงลูกให้เติบใหญ่มาอย่างสมบูรณ์แบบนั้นเป็นหน้าที่โดยตรงของคุณแม่และคุณพ่อ ถึงแม้ว่าครอบครัวของคุณจะมีตัวช่วยคือ พี่เลี้ยงเด็ก แต่จะไม่มีใครที่จะสามารถเลี้ยงดูลูกน้อยให้เติบใหญ่ได้อย่างดีมีคุณภาพได้เท่ากับคุณแม่และคุณพ่ออย่างแน่นอนค่ะ
การเสริมความมั่นใจของลูกน้อยเป็นอีกบทบาทที่คุณแม่และคุณพ่อมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้าง มอบความรักและส่งเสริมให้กับลูกได้ หากเด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าทดลองในสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่ท้าทาย เพราะกลัวทำไม่ได้ กลัวพลาด กลัวล้มเหลว กลัวทำให้คุณแม่และคุณพ่อผิดหวัง สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นบุคคลิกลักษณะที่ปิดกั้นการใช้ชีวิต และความั่นใจเมื่อขาเติบใหญ่ได้ หากคุณแม่และคุณพ่อไม่เริ่มปลูกฝังตั้งแต่วันนี้
ศัตรูของความมั่นใจ และความไม่กล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ ของลูกน้อยคือ การขาดกำลังใจและความกลัว ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในหน้าที่ที่คุณแม่และคุณพ่อจะสามารถช่วยเติมเต็ม และเสริมสร้างให้กับลูกได้ตั้งแต่วัยเยาว์ วันนี้ Central Inspirer จึงอยากชวนคุณแม่และคุณพ่อมาเรียนรู้ว่าเราจะเลี้ยงลูกอย่างไรให้เขาโตขึ้นอย่างคนที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ มาดูกันเลยค่ะ
เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความมั่นใจ
1. ชื่นชมในความพยายาม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ๋ ตั้งแต่ลูกน้อยจำความได้ คุณต้องชื่นชมลูกให้เขาได้ยิน หรือได้สัมผัส ไม่ว่าจะแสดงออกทางคำพูด การโอบกอด หรือการจูจุ๊บ ให้ลูกรู้สึกได้ว่าทุกการกระทำของเขา ไม่ว่าจะเป็นการเก็บของเล่นหลังการเล่น การใส่รองเท้า หรือใส่เสื้อผ้าได้ด้วยตัวเอง การที่ลูกรับประทานอาหารได้หมดจาน การหกล้มแล้วไม่ร้องไห้ หรือการแข่งขันกีฬาไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ การแสดงความชื่นชมจากคุณแม่และคุณพ่อในความพยายามของลูกมีส่วนสำคัญในการเติมเต็มความมั่นใจให้กับลูกได้ ผลดีในระยะยาวคือ ลูกจะเรียนรู้ว่าความพยายามช่วยสร้างความมั่นใจได้อย่างมากเลยทีเดียว
2. ฝึกการให้กำลังใจ
คุณแม่และคุณพ่อควรฝึกให้กำลังใจลูกเพื่อสร้างความมั่นใจ และความสามารถให้กับลูกน้อยตั้งแต่ลูกยังเล็กแต่พอจำความได้ ควรให้กำลังใจและเสริมแรงให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกสนใจ แต่ทำให้ลูกรู้สึกกดดันมมากจนเกินไป Harmony Zhu นักเปียโนระดับโลกวัย 14 ปี กล่าวในรายการทอล์กโชว์ยอดนิยมของอเมริกา The Ellen Show ว่าเธอฝึกเล่นเปียโนมาตั้งแต่ 3 ขวบ และที่เล่นได้ดีจนโด่งดังเป็นเพราะได้รับกำลังใจจากครอบครัวนั่นเอง
3. ฝึกให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตนเอง
อันที่จริงแล้วคุณแม่และคุณพ่ออยู่เคียงข้างลูกเสมอในเรื่องของการแก้ปัญหา แต่การฝึกให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อนนั้นจะช่วยให้ลูกได้ฝึกทักษะในการพัฒนาด้านความเชื่อมั่นในการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย ต้องลองให้ลูกแก้ปัญหาดูด้วยตนเองก่อน แต่ก็ต้องให้ลูกรู้สึกว่าคุณแม่และคุณพ่อยังอยู่ข้างๆ เสมอ แต่ลูกควรช่วยตัวเองแก้ปัญหาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างการติกระดุงเส์้อ การผูกเชือกรองเท้า ไปจนเรื่องการเรียน เทอมนี้ลูกอาจมีผลการเรียนตกไปสักนิด จากเคยได้เกรด A ในวิชาที่ชื่นชอบ กลับมาได้เกรด B หรือ C ลูกต้องเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการเรียน โดยคุณแม่และคุณพ่ออาจอยู่ข้างๆ ให้คำแนะนำ ให้ลูกพร้อมปรึกษาได้ เพื่อที่เขาจะเติบใหญ่และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง
4. เรียนรู้ที่จะแสดงออกตามวัย
ลูกต้องเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรม หรือแสดงออกตามวัย คุณแม่และคุณพ่อไม่ควรมีความคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมเหมือนผู้ใหญ่ในขณะที่ลูกยังอยู่ในวัยเด็ก อยากดุ หรืออย่าคาดหวังให้ลูกนั่งเงียบๆ ไม่เล่นซน ไม่ตั้งคำถามเยอะๆ เวลาคุณพาลูกไปร่วมงานสำคัญ หรือพาไปเดินเล่นในห้างฯ อันที่จริงเด็กเล็กๆ ไม่มีทางอยู่นิ่งๆ ไม่มีทางไม่ซักไม่ถามอยู่แล้ว อย่าคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมตามที่คุณแม่และคุณพ่อกำหนด มันขัดกับความเป็นจริง และทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ลดความเชื่อมั่นของลูก การตั้งมาตรฐานที่ลูกไม่สามารถไปถึงได้นั้นจะลดความเชื่อมั่นของลูกลง ดังนั้นคุณแม่และคุณพ่อไม่ควรทำนะคะ
5. กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
เมื่อถึงช่วงวัยหนึ้ง ประมาณ 4-5 ขวบเป็นต้นไป เด็กจะมีการตั้งคำถามมากมายไม่จบไม่สิ้น ซึ่งอาจทำให้คุณแม่และคุณพ่อรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่ายที่จะตอบ เมื่อลูกพูดมาก เป็นจอมตั้งคำถาม คุณแม่และคุณพ่อควรตั้งใจตอบ ควรรู้ว่าลูกให้ความสำคัญกับคุณจึงซักถาม อย่าแสดงอาการเบื่อหน่าย รวมทั้งควรตั้งคำถามกลับไปหาลูกเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการความคิด และการโต้ตอบของเด็กด้วย ตั้งคำถามและชี้ชวนชมให้ลูกรู้จักสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรื่องของธรมชาติ ดอกไม้ ต้นไม้ สัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์ทะเล และสัตว์ป่า ช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของลูก เด็กที่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่ตั้งคำถามให้เสมอๆ รวมทั้งตั้งใจตอบในทุกๆ คำถามที่ลูกน้อยถาม เด็กเหล่านี้จะเรียนรู้ได้เร็วและดีกว่าเด็กที่คุณแม่และคุณพ่อเมินเฉย ไม่ตอบและไม่ตั้งคำถามเพื่อแชลเล้นจ์ หรือเสริมความรู้ให้ลูกน้อย
6. ให้ลูกได้สัมผัสสิ่งท้าทายใหม่ๆ
ให้ลูกได้ทดลองในสิ่งท้าทายใหม่ๆ เสริมสร้างความกล้าและความมั่นใจให้กับลูกน้อย แสดงให้ลูกเห็นเป้าหมายที่เป็นความสำเร็จเล็กๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายใหญ่ๆ เช่น การกระโดดลงสระว่ายน้ำที่มีคุณคอยรับอยู่ การหัดขี้จักรยานสองล้อ การหัดเล่นสกูเตอร์ หรือโรลเลอร์เบลด คุณแม่และคุณพ่อสามารถสร้างความมั่นใจในตัวลูกเพิ่มขึ้นได้ด้วยสิ่งท้าทายใหม่ๆ ให้ลูกรู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่มีอะไรต้องกังวล
7. ไม่วิจารณ์การแสดงออกของลูก
ไม่มีสิ่งไหนที่ทำให้ลูกท้อใจ และขาดความมั่นใจได้เท่ากับการวิพากษ์วิจารณ์ของคุณแม่และคุณพ่อในความพยายามของลูก โดยเฉพาะการวิจารณ์แบบติดลบ คุณแม่และคุณพ่อควรให้คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะว่าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง แต่อย่าตำหนิว่าลูกทำกิจกรรมนั่นๆ ไม่ดี เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกอับอาย กลัวความล้มเหลว และกังวลว่าจะโดนตำหนิ กลัวจะทำให้คุณแม่และคุณพ่อโกรธหรือผิดหวัง หากคุณวิพากษ์วิจารณ์ ลูกน้อยจะไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าทดลองทำในสิ่งใหม่ ทำให้ลูกรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองและหมดแรงจูงใจ รวมทั้งหมดความมั่นใจในที่สุด
8. เรียนรู้จากความผิดพลาด
ให้ลูกของคุณเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เขาสร้างขึ้น พร้อมเปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นเกราะที่สร้างฐานการเรียนรู้ให้กับเขา การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ แต่สิ่งนั่นจะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณแม่และคุณพ่อทำข้อผิดพลาดนั้นๆ ให้เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะเติบโตและก้าวไป ที่สำคัญคุณแม่และคุณพ่อจะต้องไม่ปกป้องลูกมากเกินไป ยอมให้ลูกพบกับความล้มเหลวบ้าง เพื่อช่วยให้ลูกเกิดความเข้าใจว่าชีวิตของคนเราต้องประสบกับความผิดพลาดและความล้มเหลวบ้าง นั่นเป็นเรื่องธรรมดา เปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อเติบใหญ่เต็มไปด้วยความมั่นใจ และมีสติในการแก้ปัญหา
9. เปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ในสิ่งใหม่
เปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกน้อย ในฐานะของความเป็นคุณแม่และคุณพ่อ คุณควรช่วยเปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์ในโลกกว้าง เพื่อเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ การเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ สามารถสอนลูกให้ลูกรู้ว่า ไม่ว่าจะเจอประสบการณ์ใดๆ ในแบบที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน ไม่ว่าจะดีหรือร้าย ลูกก็จะสามารถฝ่าฟันและเอาชนะมันได้ด้วยความมั่นใจของลูกเอง
10. อย่ามีข้อยกเว้น
หลีกเลี่ยงการซิกแซก การผลัดวันประกันพรุ่ง การให้สิทธิพิเศษ หรือการมีข้อยกเว้นให้ลูกเสมอ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่น คิดว่ามันไม่จำเป็น ไม่ใช่เรื่องสำคัญในการแก้ไข หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ความคิดที่ว่าเอาไว้วันหลังก็ได้ จะทำให้ลูกเติบใหญ่แบบขาดความเชื่อมั่น และความมั่นใจในตัวเอง
11. เรียนรู้ด้วยการทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง
หมั่นสอนให้ลูกเรียนรู้ว่า หากจะทำให้สำเร็จต้องรู้อะไรบ้าง คุณแม่และคุณพ่อเป็นฮีโร่ในใจของลูกอยู่แล้วจวบจนลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ดังนั้นในโอกาสที่ลูกยังเป็นเด็กเล็ก ควรใช้โอกาสนี้สอนลูกให้รู้จักวิธีการคิด การแสดงออกและการพูดจาที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เช่น การสอนไม่ให้ลูกพูดคำหยาบ คำไม่สุภาพ คุณก็ต้องไม่พูดเสียเอง ไม่อยากให้ลูกขี้โมโห อารมณ์ร้อน คุณแม่และคุณพ่อก็ต้องไม่ทะเลาะ หรือโต้เถียงกันต่อหน้าลูก ลูกอาจมีพฤติกรรมการเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว การที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกจะช่วยส่งเสริมความั่นใจ และเสริมให้เห็นว่าเขาสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกันกับคุณแม่และคุณพ่อ
12. อย่าให้ลูกมองเห็นความกังวลใจของคุณ
ไม่ว่าคุณแม่และคุณพ่อจะมีความวิตกกังวลใจในเรื่องใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับลูกน้อย หรือปัญหาส่วนตัว ปัญหาเศรษฐกิจ หรือปํญหาภายในบ้าน อย่าแสดงออกให้ลูกน้อยเห็น หรืออย่าบอกลูกรู้ ความรู้สึกของคุณส่งผลต่อเด็ก ทำให้เขากังวลใจเช่นกัน เมื่อรู้ว่าคุณแม่และคุณพ่อไม่มีความสุข ลูกจะขาดความเชื่อมั่น ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจของลูกน้อยอย่างแน่นอนค่ะ
13. ให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
การสอนให้ลูกเกิดความมั่นใจก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเอาแต่สอน และนิ่งเฉยเมื่อลูกประสบปัญหา คุณควรเอื้อมมือให้ความช่วยเหลือบ้างเมื่อจำเป็น เด็กก็คือเด็ก ในบ้างจุดเด็กก็อย่างได้ความช่วยเหลืออจากคุณแม่และคุณพ่อเพื่อเสริมความมั่นใจให้ตัวเองอยู่เหมือนกัน แต่การเสนอตัวเข้าช่วยเหลือและสนุบสนุนต้องไม่มากจนเกินไป การให้ความช่วยเหลือที่มากเกินไปและเร็วเกินไปจะลดความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของลูก ควรให้ลูกช่วยเหลือตัวเองก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกมากขึ้น
14. แสดงความยินดีเมื่อลูกได้เรียนรู้
เมื่อลูกประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้ของเขา คุณแม่และคุณพ่อควรเฉลิมฉลองความสำเร็จ และความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ของลูก ให้เขาได้เห็นว่าคุณแม่และคุณพ่อปลาบปลื้มเช่นใด รู้สึกอย่างไรเมื่อเขาได้เรียนรู้และปะสบความสำเร็จในสิ่งใหม่ๆ เช่น ถ้าคุณแม่และคุณพ่อแสดงอาการตื่นเต้นกับการว่ายน้ำ หรือการเรียนรู้ในการพูดภาษาต่างๆ นอกจากเด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นแล้ว คุณแม่และคุณพ่อก็แฮปปี้ด้วย การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยากและหากทำให้ประสบความสำเร็จ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการฉลองความสำเร็จของลูกจะช่วยให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมั่นใจค่ะ
15. อย่าดุ หรือเข้มงวดกับลูกเกินไป
ความกลัวการถูกลงโทษ ความกลัวที่จะโดนคุณแม่และคุณพ่อดุ ความกลัวความล้มเหลวจะทำให้คุณแม่และคุณพ่อเสียใจ ล้วนทำให้เด็กขาดความมั่นใจได้ทั้งสิ้น คุณแม่และคุณพ่อต้องเรียนรู้ที่จะเติบโตไปพร้อมกับลูกด้วยการ เป็นผู้ปกครองที่เข้าใจลูก ไม่บังคับ ไม่ดุด่า หรือเข้มงวดจนเกินไป หากคุณแม่และคุณพ่อเข็มงวดกับลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกเต็มไปด้วยความกลัว ขาดความมั่นใจและลดความเชื่อมั่นลง การทำตามคำสั่งตลอดเวลาจะทำให้ลูกขาดความกล้า และเต็มไปด้วยความกลัว ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตในอนาคต
การเลี้ยงดูลูกนั้นมันมีความยากลำบากทั้งในเรื่องการดูแลลูกให้แข็งแรง และเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกาย และจิตใจ การเสริมสร้างลูกให้มีความมั่นใจนั้นเป็นหน้าที่ของคุณแม่และคุณพ่อที่สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในวัยเด็ก ไม่ควรคิดว่าการเสริมความมั่นใจเป็นหน้าที่ของโรงเรียน และคุณครู คุณแม่และคุณพ่อนั่นแหล่ะ เป็นด่านแรกที่จะสร้างความเข้าใจ และเสริมความมั่นใจให้ลูกน้อยเพื่อให้ลูกน้อยเติบใหญ่เป็นคนที่มีคุณภาพ ประสบความสำเร็จในชีวิต และลูกก็จะเติบโตสร้างความภาคภูมิใจให้กับคุณแม่และคุณพ่อในอนาคต Happy Parenting ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : theasianparent.com / mgronline.com
Picture credit : Pinterest.com / mirror.co.uk