New-Mommy-Diary-Chapter-20-what-you-should-know-about-RSV-in-babies-and-its-treatment

New Mommy Diary Chapter 20: RSV ไวรัสอันตราย! คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกัน

สำหรับคุณแม่มือใหม่ การดูแลลูกน้อยถือเป็นหน้าที่หลักที่คุณแม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าที่บ้านจะจ้างพี่เลี้ยงเด็กมาเป็นผู้ช่วย แต่การดูแลลูกน้อยย่อมเป็นหน้าที่ของคุณแม่ ระหว่างทางที่ลูกน้อยเติบใหญ่ มีโรคภัยมากมายที่อาจเกิดขึ้นกับทารกน้อย เด็กเล็กต้องได้รับวัคซีนตามวัยเพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจมาเยือนโดยคาดไม่ถึง เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ต้นเหตุของอุจจาระร่วง วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ และ Hib วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) หรือวัคซีนตับอักเสบบี (HBV)  เป็นต้น

RSV3

แต่มีไวรัสร้ายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกเหนือวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ นั่นคือ RSV ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคกับระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ไวรัส RSV คืออะไร วันนี้ Central Inspirer อยากชวนคุณแม่มาทำความรู้จัก พร้อมวิธีป้องกัน เชิญทางนี้เลยค่ะ

ไวรัสตัวร้าย RSV คืออะไร?

RSV6

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus คือ การติดเชื้อในทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นกับทารกและเด็กตัวน้อย มักก่อให้เกิดอาการหายใจขัด มีอาการเซื่องซึมหรือเกิดอาการไอ ซึ่งยิ่งรู้เร็ว ก็ยิ่งรักษาได้เร็วไวคะ

RSV อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย แต่หากเกิดขึ้นกับทารก หรือเด็กเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ นั่นเป็นเพราะระบบทางเดินหายใจของทารกและเด็กเล็กยังไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ เด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถขากเสมหะได้ด้วยตัวเองเหมือนเด็กโต หรือผู้ใหญ่ อีกทั้งยังมีอวัยวะและช่องทางหายใจที่เล็กกว่า ซึ่งอาจก่อให้เกิดการหายใจขัด ทำให้เกิดปัญหาในการหายใจได้

สำหรับผู้ใหญ่ RSV อาจเกิดจากอาการเป็นหวัด ทำให้มีอาการไอบ่อยๆ แต่สำหรับทารกและเด็กเล็ก RSV สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง เช่น โรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ที่มักเกิดขึ้นในฤดูหนาว จะสังเกตุได้ว่าทารกหรือเด็กเล็กที่มีอาการของโรคหลอดลมฝอยอักเสบ เวลาไอจะมีเสียงหวีด หรือ Wheezing ออกมาร่วมด้วย

ไวรัส RSV อาจนำพามาซึ่งการติดเชื้ออื่นๆ ได้ เช่น การเป็นปอดบวม หรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ (Pneumonia) ในบางกรณี เด็กอาจเจ็บป่วยมากจนต้องเข้าโรงพยาบาล RSV ถือเป็นไวรัส และเป็นโรคประจำฤดูหนาว ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง อากาศมีความเย็นมากขึ้น และเป็นโรคที่สามารถติดต่อถึงกันได้

อาการของ RSV ในทารกและเด็กเล็ก

SICK

RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ภายใน 4 -6 วันหลังจากการได้รับเชื้อ สำหรับเด็กโต RSV อาจก่อให้เกิดอาการเหมือนกับการเป็นหวัดธรรมดา แต่สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก ไวรัสตัวนี้อาจก่อให้เกิดอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • หายใจเร็วกว่าปกติ
  • หายใจลำบาก ทำให้ป้อนอาหารใด้ยาก
  • มีอาการไอ
  • มีไข้
  • หงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่สบายตัว
  • มีอาการเซื่องซึม
  • มีน้ำมูก
  • จาม
  • หายใจหอบ
  • หายใจมีเสียหวีด

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

RSV2

เนื่องจาก RSV เป็นโรคติดเชื้อที่สามารถเป็นซ้ำได้อีก และยังไม่มีวัคซีนใช้ในปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกัน ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลอยู่เสมอทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำ รักษาความสะอาดทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ หากมีคนในบ้านป่วยควรแยกและงดใช้ของส่วนตัวร่วมกัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง สำหรับเด็กเล็กที่เข้าเนิร์สเซอร์รี่ หรือเข้าโรงเรียนแล้ว เมื่อมีการป่วย ควรหยุดเรียนทันทีจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

หากลูกน้อยป่วยด้วยไวรัส RSV ควรพาไปพบแพทย์หรือไม่?

RSV5

อาการของ RSV นั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ ถึงอาการหนัก เช่น โรคหลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม แต่ถึงแม้อาการจะบางเบา ไม่หนักมาก คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ ถ้าคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการของเชื้อไวรัส RSV โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกว่าลูกเริ่มมีอาการหายใจขัด หายใจไม่สะดวกแล้ว รีบพาไปพบแพทย์โดยทันที

อาการข้างเคียงต่างๆ ที่คุณแม่ควรสังเกต มีดังต่อไปนี้

  • อาการขาดน้ำหรือของเหลว เช่น ลูกมีกระหม่อมบุ๋มผิดปกติหรือ Sunken Fontanelle ผ้าอ้อมแห้ง ลูกไม่ปัสสาวะ หรือลูกร้องไห้ไม่มีน้ำตา เป็นต้น
  • มีอาการหายใจลำบาก สังเกตจากเมื่อเวลาเด็กพยายามหายใจจะมองเห็นแนวซี่โครงได้ชัดเจน
  • สังเกตบริเวณเล็บและปากเป็นสีเขียวน้ำเงิน เนื่องจากการขาดออกซิเจนที่เพียงพอ หรือที่เรียกว่า Cyanosis
  • มีไข้สูงมากกว่า 38°C โดยเฉพาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน
  • มีไข้สูงมากกว่า 39°C โดยเฉพาะกับเด็กในทุกช่วงวัย
  • ขี้มูกเหนียวและแข็งทำให้ให้ใจลำบาก

การรักษาเด็กเล็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV

RSV4

หากทารกและเด็กเล็กมีอาการ RSV ที่รุนแรง มีความจำเป็นต้องรับพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพราะเด็กจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ Mechanical Ventilator เครื่องมือทางการแพทย์ชิ้นนี้สามารถช่วยเติมลมเข้าปอดให้กับเด็กน้อยจนกว่าเชื้อไวรัส RSV จะหายไป แพทย์มักใช้เครื่องมือนี้รักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม และหากแพทย์พบว่าเด็กมีอาการขาดน้ำ ก็มีความจำเป็นต้องให้ของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำอีกด้วย ในส่วนของยาปฏิชีวนะ หรือ Antibiotics ก็ไม่สามารถรักษาอาการของ RSV ในทารกหรือเด็กเล็กด้ เพราะยาปฏิชีวนะช่วยบรรเทาในการติดเชื้อแบคทีเรีย ในขณะที่ RSV เป็นการติดเชื้อไวรัส

หากลูกน้อยมีอาการของ RSV ที่บ้าน คุณแม่ควรปฐมพยาบาลอย่างไร?

หากลูกน้อยมีอาการเบื้องต้นของการติดเชื้อไวรัส RSV หรือเมื่อปรึกษาคุณหมอแล้ว คุณหมออนุญาตให้คุณแม่ดูแลลูกอยู่ที่บ้านได้ คุณแม่อาจมีความจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานในการดูแลลูกน้อย ซึ่งจะช่วยในการดูดสารคัดหลั่ง หรือเสมหะ และช่วยให้ลูกหายใจได้สะดวกขึ้น ดังนี้

1. เครื่องช่วยดูดน้ำมูก

SYRINGE

เครื่องช่วยดูดน้ำมูก เป็นตัวช่วยในการดูดสารคัดหลั่ง หรือน้ำมูกเหนียวออกจากจมูกของลูกน้อย ควรดูดก่อนการให้อาหาร จมูกที่โล่งช่วยให้เด็กรับประทานอาหารได้ง่ายขึ้น อาจใช้น้ำเกลือมาผสมเล็กน้อย เพื่อให้การดูดนั้นง่ายขึ้น หลังจากการใช้งานต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย เพราะ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย

เครื่องดูดสารคัดหลั่ง หรือน้ำมูกคุณภาพ

PURPÜR ที่ดูดน้ำมูกเด็กเล็ก

ราคา 115 บาท

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

NATURNATUR ที่ดูดน้ำมูก รุ่น 85303

ราคา 69 บาท

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

GLOWY STARGLOWY STAR เครื่องดูดน้ำมูกแบบปากกา

ราคา 250 บาท พิเศษ 190 บาท (SAVE 24%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

SOFTSOFT เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ

ราคา 1,990 บาท

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

2. เครื่องทำความชื้นในอากาศ

HUMIDIFIER

เครื่องทำความชื้นในอากาศ หรือ Humidifier ช่วยลดอาการคัดจมูกและหายใจไม่ออกของทารกหรือเด็กเล็กได้ ควรมีเครื่องทำความชื้นในอากาศเก็บไว้ และควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เชื้อโรคและฝุ่นสกปรกต่างต่างเกาะติดในตัวเครื่อง เพราะจะยิ่งทำให้อาการหายใจลำบากของลูกแย่ลงไปใหญ่ เลือกใช้เครื่องทำความชื้นที่ปล่อยลมเย็นออกมา ไม่ควรใช้เครื่องที่ปล่อยไอร้อน เพราะจะทำให้ลูกน้อยอึดอัด และหายใจลำบากมากขึ้นไปอีก ในการรักษาอาการไข้ ควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถให้ยาแก้ไข้ หรือ Acetaminophen หรือที่เรารู้จักกันในนาม Paracetamol ได้หรือไม่ ซึ่งคุณหมอจะแนะนำให้ใช้ยาตามน้ำหนักของลูก ห้ามให้แอสไพรินกับเด็กน้อยโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กเล็กค่ะ

แนะนำเครื่องทำความชื้นในอากาศคุณภาพดี

OSIMOSIM [Pre-Order] เครื่องทำความชื้น Mist Dream

ราคา 3,490 บาท พิเศษ 2,990 บาท (SAVE 14%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

 

BEURERBEURER เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ รุ่น LB 88

ราคา 5,500 บาท พิเศษ 4,700 บาท (SAVE 15%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

 

XIAOMIXIAOMI เครื่องเพิ่มความชื้น รุ่น RZ300

ราคา 4,590 บาท พิเศษ 3,566 บาท (SAVE 22%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

DEERMADEERMA เครื่องทำความชื้น รุ่น F329

ราคา 1,090 บาท พิเศษ 900 บาท (SAVE 17%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

เชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อโรคที่มักเกิดในช่วงฤดูหนาว สำหรับคุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจและสังเกตลูกน้อยในช่วงเวลานี้ เพราะสำหรับเด็กเล็ก อากาศหนาวเย็นอาจส่งผมต่อสุขภาพของเขา อีกอย่างหนึ่งคือ ไวรัส RSV นั้นติดต่อกันได้ ในหน้าหนาว หากคุณแม่พาลูกน้อยออกนอกบ้าน ต้องระวังให้ลูกน้อยใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา

หน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก

GLOWY STAR MASKGLOWY STAR หน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก (50 ชิ้น)

ราคา 500 บาท พิเศษ 380 บาท (SAVE 24%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

UNICHARMMAMY POKO 3D Mask หน้ากากกันฝุ่นสำหรับเด็ก

ราคา 89 บาท พิเศษ 79 บาท (SAVE 11%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

B2S

B2S Fresh Plus หน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก

ราคา 100 บาท พิเศษ 89 บาท (SAVE 11%)

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

YAMADA

YAMADA หน้ากากอนามัยเด็ก รุ่น MS 4230 ZOO

ราคา 75 บาท

Inspirer_Button_3_aug_shop_now_design2 (1)

ระวังเรื่องความสะอาด และให้อยู่ห่างไกลคนที่ดูมีอาการเป็นหวัด เพราะเราไม่ทราบว่านั่นคือหวัดธรรมดา หรือเชื้อไวรัส RSV ยิ่งในช่วงนี้เชื้อโควิด-19 ยังระบาดอยู่ ยังไม่หายไปไหน พาลูกน้อยออกนอกบ้านต้องระวัง จับลูกแต่งตัวให้อบอุ่น และอยู่ให้ห่างไกลคนแปลกหน้าจะดีที่สุด ด้วยความรัก และความห่วงใยจาก Central Inspirer ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: healthline.com

Picture credit: pinterest.com