การดูแลลูกน้อยให้เติบโตมาอย่างมีสุขภาพดีและมีความสุข คุณแม่และคุณพ่อต้องฝ่าฟันกับปัญหาต่างๆ มากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเจ็บไข้ไม่สบาย การที่ต้องเจอภาพบาดหัวใจเมื่อพาลูกไปฉีดวัคซีน เจอปัญหาลูกร้องไม่หยุด แถมยังอาบน้ำ ให้นม ให้อาหาร เลี้ยงดูกันมาจนลูกเติบใหญ่ แต่ด้วยความรักและความห่วงใยในแก้วตาดวงใจคนนี้ คุณแม่และคุณพ่อย่อมฝ่าฟันปัญหาไปได้
แต่ปัญหาหนึ่ง ในหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ทำให้ทั้งคุณแม่และคุณพ่ออ่อนเพลียและสะบักสะบอม คือ ปัญหาลูกไม่ยอมนอน หรือนอนไม่หลับ ธรรมดาเลี้ยงลูกก็แทบไม่ได้พักผ่อนอยู่แล้ว ยิ่งลูกมีอาการไม่ยอมนอนนี่ช่างบั่นทอนสุขภาพคุณแม่และคุณพ่อเป็นที่สุด วันนี้ Central Inspirer จึงอยากชวนคุณแม่มาเรียนรู้ว่าทำไมลูกน้อยไม่ยอมนอน แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
อะไรเป็นสาเหตุที่เด็กไม่ยอมนอน
ลูกนอนหลับยากเป็นปัญหาที่พบบ่อย เด็กบางคนอาจไม่ยอมนอนหรือบางคนอาจตื่นกลางดึกบ่อย คุณแม่และคุณพ่ออาจรู้สึกเหนื่อยและหนักใจในการกล่อมให้ลูกนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน ปัญหาลูกนอนยากเกิดได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
1. เด็กนอนหลับยากด้วยพัฒนาการตามวัย
เป็นเรื่องปกติที่เด็กเล็กจะมีภาวะหลับตื่นสลับกันไปตลอดทั้งคืน ซึ่งถือเป็นพัฒนาการปกติตามวัย เด็กอาจไม่หลับยาวในช่วงกลางคืนและตื่นมากินนมบ่อย ปัญหาการนอนยากตามวัยนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 4 เดือน ซึ่งเด็กจะเริ่มหลับตอนกลางคืนได้ยาวประมาณ 6 ชั่วโมง และเมื่อมีอายุ 6 เดือน เด็กจะสามารถหลับได้นานถึง 10 ชั่วโมง แต่อาจยังตื่นกลางดึกอยู่บ้าง ซึ่งเด็กทารกบางคนตื่นแล้วสามารถหลับต่อได้เอง แต่บางคนอาจต้องการให้พ่อแม่กล่อมจึงจะหลับต่อได้
2. เด็กเล็กยังแยกแยะเวลากลางวันกับกลางคืนไม่ได้
เด็กเล็กบางคนอาจสลับเวลาในการนอนหลับพักผ่อน โดยใช้เวลานอนหลับตอนกลางวันมากกว่ากลางคืน ทำให้ไม่ยอมหลับนอนในเวลากลางคืน นั่นเป็นเพราะเด็กยังไม่สามารถแยกแยะเวลากลางวันกับกลางคืนได้ ทำให้คุณแม่และคุณพ่อต้องอ่อนเพลียเพราะอดนอนไปพร้อมกับลูก
3. บรรยากาศภายในห้องนอนไม่เหมาะสมสำหรับการนอนของเด็ก
คุณแม่เคยสังเกตหรือไม่ว่า บรรยากาศในห้องนอนอาจทำให้ลูกนอนหลับยาก บรรยากาศอาจไม่เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อนของลูก หรือสภาพแวดล้อมในห้องนอนไม่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น อุณหภูมิในห้องร้อนหรือหนาวเกินไป ไฟในห้องนอนสว่างเกินไป ในห้องนอนมีของเล่นหรือสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจจากการนอน คุณแม่และคุณพ่อพูดคุยกันเสียงดัง หรือมีโทรศัพท์เข้าระหว่างเอาลูกเข้านอน แม้แต่บรรยากาศวุ่นวายต่างๆ ก่อนการนอนของลูก ล้วนส่งผลให้เด็กน้อยนอนหลับยาก
4. กิจกรรมกิจก่อนเข้านอนที่ไม่เหมาะสม
การที่คุณแม่และคุณพ่อให้ลูกเข้านอนดึกหรือนอนไม่เป็นเวลา และไม่มีสุขอนามัยในการนอนที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยนอนยาก เช่น ให้ลูกน้อยดูภาพยนตร์ที่น่ากลัว หรือน่าตื่นเต้น ให้ลูกดูโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือซึ่งมีแสงสีฟ้าจากหน้าจอที่กระตุ้นให้สมองตื่นตัว ทำให้ลูกนอนหลับยาก หรือการให้ลูกรับประทานอาหาร หรือขนมมากก่อนเข้านอน ล้วนเป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกมีอาการตื่นตัว และนอนหลับยาก
5. เด็กมีความกลัว ไม่อยากนอนคนเดียว
สาเหตุของปัญหาลูกนอนยากอีกสาเหตุที่พบบ่อยคือ เด็กกลัวการนอนคนเดียว และกลัวว่าตื่นมาจะไม่เจอคุณแม่และคุณพ่อ ปัญหานี้เกิดขึ้นได้แม้กับในเด็กทารก คุณแม่ควรมีเตียงนอนสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หรือ Crib ที่มีราวกั้นเพื่อป้องกันการตกเตียง และนำไปไว้ในห้องนอนของคุณแม่และคุณพ่อ ไม่ควรให้เด็กเล็กนอนเตียงเดียวกับผู้ใหญ่เพื่อความปลอดภัยของเด็ก และอาจทำให้เด็กนอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม หากเด็กตื่นกลางดึก อาจหลับต่อได้เองหรือร้องไห้งอแงเมื่อไม่เห็นพ่อแม่ สิ่งที่ควรทำคือพูดปลอบและลูบหลังเบาๆ ไม่ควรอุ้มเด็กขึ้นมาหรือให้กินนมและขนม โดยเฉพาะหลังจากที่เด็กอายุเกิน 1 ขวบไปแล้ว เพราะจะทำให้เด็กไม่ยอมกลับไปนอนหลับต่อ
ที่นอนเด็กคุณภาพ ปลอดภัย น่าใช้งาน
CHICCO เตียงนอน Lullaby Dream Playard-Minerale สีดำ
ราคา 21,995 บาท พิเศษ 17,596 บาท (SAVE 20%)
PRINCE & PRINCESS เตียงนอนทารก รุ่น PPC301
ราคา 9,900 บาท
BEBEPLAY เตียงนอนไม้สำหรับเด็ก พื้นไม้ ลายไดโนเสาร์ สีเขียว
ราคา 4,990 บาท
CAMERA เตียงไม้ รุ่นโฮล่า สีขาว
ราคา 19,900 บาท พิเศษ 10,450 บาท (SAVE 47%)
6. ความเครียดจากเหตุการณ์ต่างๆ
สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนแล้ว อาจมีเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เด็กนอนหลับยาก เช่น โดนเพื่อนแกล้ง ปัญหาการเข้ากับเพื่อน หรือปัญหาเรื่องเรียน อาจทำให้เกิดความเครียดและทำให้เด็กไม่ยอมนอน นอกจากนี้ เด็กที่ผ่านเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การหย่าร้างของคุณพ่อและคุณแม่ การสูญเสียคนที่เป็นที่รัก การย้ายที่อยู่และโรงเรียนใหม่ก็อาจเกิดความเครียด วิตกกังวล และนำมาสู่การนอนไม่หลับได้
7. ความผิดปกติในการนอนหลับ
เด็กน้อยอาจมีความผิดปกติในการนอนหลับ โดยภาวะที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่
- ฝันผวา (Sleep Terrors)
เป็นอากรนอนไม่หลับในเด็กที่เกิดจากความเครียด การนอนไม่พอ หรือเกิดเมื่อเป็นไข้ ทำให้มีอาการร้องตะโกน กรีดร้อง ถีบหรือเตะ ลุกขึ้นจากที่นอนด้วยความกลัวขณะหลับ ตาเบิกโพลงแต่ยังไม่ตื่นเต็มที่ ใจสั่น เหงื่อออกมาก โดยมักเกิดหลังจากหลับไปไม่นาน เมื่อตื่นมาเด็กมักจำเหตุการณ์ไม่ได้ ซึ่งต่างจากฝันร้ายทั่วไปที่จะเกิดช่วงเช้าใกล้ตื่นนอนและเด็กยังจำเรื่องราวในฝันได้
- นอนไม่หลับ (Insomnia)
เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด กิจกรรมที่ทำก่อนนอน สภาพแวดล้อมในห้องนอน และโรคประจำตัวบางอย่าง ซึ่งทำให้ลูกนอนยากและส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ ความจำ และการใช้ชีวิตประจำวัน
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
เกิดจากต่อมทอนซิลและหรือต่อมอะดีนอยด์ซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูกโตผิดปกติ และอาจพบในเด็กที่เป็นภูมิแพ้ มีโรคอ้วน เด็กมักนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ นอนกระสับกระส่าย หายใจลำบาก และคัดจมูกจนต้องหายใจทางปาก
- ละเมอเดิน (Sleepwalking)
เป็นอาการที่อาจเกิดจากพันธุกรรม ความเครียด ความเหนื่อยล้า การพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาการเจ็บป่วย โดยอาการที่เห็นชัดที่สุดคือลุกจากที่นอน พูดหรือออกท่าทางซ้ำ ๆ เดินออกไปนอกห้อง และเรียกแล้วไม่รู้สึกตัว
- กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome)
เป็นภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากโรคประจำตัวและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งไต่ที่ขา ทำให้อยากขยับขาเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายขา ส่งผลให้นอนหลับได้ยาก
8. เกิดจากโรคประจำตัวและการใช้ยา
อาการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวอาจทำให้ลูกนอนยาก เช่น โรคหวัด โรคภูมิแพ้ และโรคหืด ที่รบกวนระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ และยารักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างการนอนหลับยาก พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของลูก เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาและการใช้ยาที่เหมาะสม
มีเหตุผลหลากหลายอย่างที่อาจทำให้ลูกน้อยหลับยาก หรือไม่ยอมนอน นอกจากการพาลูกไปพบแพทย์แล้ว มีหลากหลายวิธีที่คุณแม่และคุณพ่อสามารถแก้ปัญหาลูกน้อยไม่ยอมนอนได้
9 วิธีแก้ปัญหาลูกนอนหลับยาก
1. ปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมในห้องนอน
ควรปรับเปลี่ยนสภาวะในห้องนอนให้ดูเงียบสงบ เปิดเครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นฉ่ำ เปิดไฟสลัวๆ เพื่อสร้างบรรยากาศชวนนอนให้กับลูก สำหรับเด็กทารก อาจใช้โมบายเสียงเพลงกล่อมเด็ก หรือเพลงลัลลาบายเบาๆ ช่วยขับกล่อม สร้างบรรยากาศน่านอนให้กับลูก
โมบายน่ารัก น่าใช้
VTECH Lullaby Lambs Mobile
ราคา 3,795 บาท พิเศษ 3,036 บาท (SAVE 20%)
TINY LOVE โมบายพร้อมตุ๊กตา รุ่น Take Along Mobile MT
ราคา 1,890 บาท พิเศษ 1,418 บาท (SAVE 25%)
DISNEY Dream Pets Mobile
ราคา 1,595 บาท พิเศษ 995 บาท (SAVE 38%)
2. ปรับเวลานอนกลางวัน ทำกิจกรรมให้มากขึ้น
โดยส่วนมาก เด็กเล็กมักต้องนอนกลางวัน อาจเป็นช่วงเวลาหลังอาหารกลางวัน คุณแม่ควรปรับเวลาในการนอนกลางวันของลูกน้อยให้สั้นลง และให้มีกิจกรรมร่วมกับคุณแม่มากขึ้น เช่น จากที่เคยนอนกลางวันเป็นเวลานานๆ ก็ปรับให้ลูกนอกกลางวันไม่เกิน 3 ชั่วโมง เวลาที่เหลือ ให้คุณแม่หากิจกรรมต่างๆ เช่น พาลูกออกไปเล่นกลางแจ้ง เล่นกับลูก หรือพาไปทำกิจกรรมที่เด็กน้อยจะไม่รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน เมื่อถึงเวลากลางคืน รู้จะมีความรู้สึกเพลีย และอยากนอนมากขึ้น
3. สร้างกิจกรรมซ้ำๆ ทุกคืน เสมือนสร้างนาฬิกาชีวิตให้กับลูก
ทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่ากิจกรรมก่อนนอนที่ต้องทำซ้ำๆ ทุกวัน เป็น Routine จะต้องตามมาด้วยการนอนหลับพักผ่อน เช่น โดยปกติเอาลูกเข้านอนตอน 2 ทุ่ม เวลา 19.30 น. ควรพาลูกอาบน้ำ แปรงฟัน และเปลี่ยนชุดนอน ก่อนสองทุ่ม พาลูกขึ้นเตียงนอน เปิดไฟสลัว อ่านนิทานก่อนนอนให้ลูกฟังจนลูกผลอยหลับ ทำกิจกรรมแบบนี้ทุกวัน ลูกจะมีความเคยชิน และนาฬิกาในร่างกายจะบอกให้ลูกลูกสึกง่วง และนอนหลับได้ในเวลาที่เราต้องการ
4. อย่าปล่อยให้ลูกถ่วงเวลา
หลายคนตามใจลูก ยอมปล่อยให้ลูกหาสารพันข้ออ้างมาถ่วงเวลาไม่อยากขึ้นเตียงนอน เพื่อให้เข้านอนได้ช้าขึ้น หรือได้อยู่กับคุณแม่ได้นานขึ้น เช่น ให้แม่จุ๊บหนูก่อน หนูถึงจะยอมนอน ขอดื่มน้ำก่อน หรือให้คุณแม่เล่านิทานอีกเรื่องได้มั้ย เหตุผลเหล่านี้เพราะลูกยังไม่อยากนอน คุณแม่ก็ไม่ควรคล้อยตาม หรือตามใจ ถึงเวลาเข้านอน ก็ต้องนอนตามเวลาที่กำหนดไว้
5. บอกลากิจกรรมตื่นเต้นก่อนเวลานอน
ไม่ว่าจะเป็นการดูการ์ตูน หรือหนังตื่นเต้นร่วมกับคุณแม่คุณพ่อ ดูโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมเหล่านี้ รวมทั้งการเล่นสนุกกับลูกมากจนเกินไปก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้เด็กมีความรู้สึกตื่นตัว ทำให้การนอนหลับนั้นยากขึ้น หากต้องการให้เด็กดูการ์ตูนหรือภาพยนตร์ ควรเป็นเรื่องราวที่อ่อนโยน ไม่ทำให้ตื่นตัว หรือตื่นเต้นจนเกินไปจนทำให้เมื่อถึงเวลานอน เด็กน้อยจะนอนหลับไม่ลง
6. ไม่ควรให้เด็กรับประทานมากก่อนนอน
หลายครอบครัวตามใจลูกน้อย รวมทั้งตามใจตัวเอง มีขนมจุกจิกให้ลูกรับประทาน หรืออาจให้รับประทานอาหารมากจนเกินไป เมื่อถึงเวลานอน อาหารที่แน่นท้องจะทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด และนอนไม่หลับ ควรให้เด็กน้อยรับประทานอาหารเย็นแต่เพียงพอดี ไม่ควรให้รับประทานขนมหรืออาหารจุกจิกก่อนนอน แต่สามารถให้ลูกดื่มนมสักแก้วก่อนนอนหากลูกน้อยรู้สึกหิว
7. ใช้ตัวช่วยด้วยตุ๊กตาตัวโปรด
เด็กเล็กส่วนมากจะมีตุ๊กตาตัวโปรด หมอนเน่า หรือผ้าห่มผืนเล็กที่เด็กๆ ติดและขาดไม่ได้ หากลูกน้อยรู้สึกไม่ยอมนอน เอาตุ๊กตาตัวโปรดมาให้ลูกกอด หรือนอนข้างๆ ผ้าห่ม หรือหมอนเน่าของลูก ก็เป็นอีกสิ่งนึงที่ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีสิ่งของเหล่านี้อยู่ใกล้
ตุ๊กตาตัวโปรด
GUND ตุ๊กตาผ้ามีเสียง รูปกระต่ายน้อยฟลอร่า รุ่น SM120605293900 สีขาว
ราคา 1,995 บาท พิเศษ 1,596 บาท (SAVE 20%)
GUND KIDDO ตุ๊กตาหมี Philbin Bear สีน้ำตาล
ราคา 895 บาท
BRIGHT STARTS ของเล่นตุ๊กตาสำหรับกอด รุ่น Kitt Plush Toy
ราคา 590 บาท พิเศษ 443 บาท (SAVE 25%)
8. มอบความรู้สึกปลอดภัยให้กับลูก
เด็กน้อยหลายคนนอนไม่หลับเพราะมีความรู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกว่าคุณแม่หรือคุณพ่อไม่ได้อยู่ข้างๆ คุณแม่และคุณพ่อควรปลูกฝังความรู้สึกว่าลูกสามารถนอนหลับได้อย่างปลอดภัย โดยการนอนข้างๆ ลูก ร้องเพลงกล่อมเด็กเบาๆ เปิดเพลงลัลลาบาย เล่านิทานให้ลูกฟัง รวมทั้งจับมือของลูกไว้ เพื่อให้ลูกรู้สึกอุ่นใจว่ามีคุณแม่หรือคุณพ่ออยู่ข้างๆ ลูกสามารถนอนหลับได้สบาย คุณแม่หรือคุณพ่อจะไม่ห่างไปไหนแน่นอน
นิทานก่อนนอนน่าอ่านให้ลูกฟัง
MIS BOOK หนังสือนิทาน ชุด เสริมสร้างความรัก ความเข้าใจ และสายใยอันอบอุ่นในครอบครัว
ราคา 300 บาท พิเศษ 259 บาท (SAVE 14%)
B2S นิทานก่อนนอนสอนเด็กดี
ราคา 195 บาท พิเศษ 185 บาท (SAVE 5%)
9. พาลูกน้อยไปพบแพทย์
ไม่ว่าคุณแม่และคุณพ่อจะทำวิธีไหนก็ตาม แต่ลูกน้อยก็ยังไม่ยอมนอนและมีอาการผิดปกติจากการนอนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณแม่และคุณพ่อควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อปรึกษา และตรวจหาสาเหตุ พร้อมรับการรักษา โดยเฉพาะคุณแม่ละคุณพ่อมือใหม่ที่การไม่ยอมนอนของลูกกลายเป็นปัญหาใหม่ แก้ยากสำหรับคุณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกมีมากมายหลายอย่าง กว่าจะเลี้ยงกันจนโตได้ คุณแม่และคุณพ่อย่อมต้องผ่านประสบการณ์มากมาย ที่ให้คุณได้เรียนรู้ และเติบโตขึ้น การนอนหลับยากของเด็กก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาหนักอกของหลายคู่ แต่ค่อยๆ แก้กันไปค่ะ เข้าใจจถึงสาเหตุว่าทำไมลูกเราจึงนอนหลับยาก และแก้ไขตามที่ Central Inspirer แนะนำ รับรองว่าปัญหาลูกน้อยไม่ยอมนอน หรือนอนหลับยากจะถูกขจัดไป ให้ลูกและคุณทั้งคู่นอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ค่ะ Don’t Worry Be Happy นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก: pobpad.com/ theasianparent.com
Picture credit: pinterest.com