กลับมาพบกับมาดามและสาระดีๆ อีกเช่นเคย ในครั้งนี้มาดามข้อมูลมาฝากเหล่าคุณแม่มือใหม่กัน โดยจะเป็นเรื่องราวของน้ำหนักตัวลูกน้อยว่าในแต่ละสัปดาห์ควรจะมีน้ำหนักอยู่ที่เท่าไหร่กันบ้าง ตามมาดามมาดูกันเลย
มาดามเชื่อว่าคุณแม่หลายคนน่าจะสงสัยว่าน้ำหนักของทารกในครรภ์นั้นมีความสำคัญอย่างไร โดยหลักๆ แล้วเราใช้น้ำหนักของลูกน้อยในการวิเคราะห์ว่ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า และการเจริญเติบโตผิดปกติไหม ดังนั้น เรามาดูกันว่าถ้าน้ำหนักของลูกไม่ตามเกณฑ์จะส่งผลอย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นมาดามจะขอพูดถึงสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกน้อยน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์นั้นมาจากพฤติกรรมบางอย่างของคุณแม่ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การใช้สารเสพติด, การสูบบุหรี่ หรือมีปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวน้อย, โลหิตจาง, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิต, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ทารก รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ นั่นเอง โดยอาจทำให้เกิดโรคตามมา ดังนี้
- เสี่ยงติดเชื้อในครรภ์ เช่น เริม
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม โครโมโซมผิดปกติ
- เสี่ยงโรคหัวใจ
- เสี่ยงพิการตั้งแต่กำเนิด
- อาจต้องเจอกับโรคร้ายต่างๆ ได้ง่าย
ถ้าหากคุณแม่ท่านไหนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าลูกน้อยในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่จะเป็นให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา อย่าปล่อยเอาไว้เด็ดขาด!
อย่างไรก็ตามเราสามารถป้องกันไม่ให้ลูกน้อยน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้ด้วยหลายวิธ๊เลย อาทิ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ฝากครรภ์และพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อเช็กน้ำหนักของลูกรายเดือน
นอกจากน้ำหนักตัวน้อยแล้ว หากน้ำหนักลูกน้อยสูงเกินกว่าเกณฑ์ก็บ่งบอกถึงโรคที่จะตามมาเช่นกัน โดยคุณแม่หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า ลูกเจริญเติบโตได้ดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกมีน้ำหนักเกินมาจาก กรรมพันธุ์, แม่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน, เคยตั้งครรภ์ลูกที่มีขนาดตัวใหญ่ น้ำหนักตัวเยอะมาก่อน, ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โดยหากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ
- ในอนาคตลูกน้อยอาจเป็นเบาหวาน โรคอ้วน
- เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
- ลูกเสี่ยงรูปร่างผิดปกติ
- ลูกเสี่ยงเสียชีวิตในครรภ์ รวมถึงหลังคลอด
- มีภาวะคลอดยาก
วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ที่ดีที่สุดคือต้องรีบปรึกษาแพทย์เรื่องอาหารการกิน นอกจากนี้ให้ตรวจดูความเสี่ยงโรคเบาหวานของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เพื่อให้คุณทั้งสองมีสุขภาพที่แข็งแรงที่สุด
หลังจากรู้ถึงความสำคัญกันไปแล้ว เรามาดูกันเลยค่ะว่าน้ำหนักของลูกน้อยในแต่ละสัปดาห์ควรจะเป็นเท่าไหร่ มาดามจะขอแบ่งเกณฑ์โดยเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 ไล่ยาวไปจนถึงสัปดาห์ที่ 43 ดังนี้
สัปดาห์ | ความยาว | น้ำหนัก |
สัปดาห์ที่ 8 | 1.6 ซม. | 1 กรัม |
สัปดาห์ที่ 9 | 2.3 ซม. | 2 กรัม |
สัปดาห์ที่ 10 | 3.1 ซม. | 4 กรัม |
สัปดาห์ที่ 11 | 4.1 ซม. | 7 กรัม |
สัปดาห์ที่ 12 | 5.4 ซม. | 14 กรัม |
สัปดาห์ที่ 13 | 7.4 ซม. | 23 กรัม |
สัปดาห์ที่ 14 | 8.7 ซม. | 43 กรัม |
สัปดาห์ที่ 15 | 10.1 ซม. | 70 กรัม |
สัปดาห์ที่ 16 | 11.6 ซม. | 100 กรัม |
สัปดาห์ที่ 17 | 13 ซม. | 140 กรัม |
สัปดาห์ที่ 18 | 14.2 ซม. | 190 กรัม |
สัปดาห์ที่ 19 | 15.3 ซม. | 240 กรัม |
สัปดาห์ที่ 20 | 16.4 ซม. | 300 กรัม |
สัปดาห์ที่ 21 | 26.7 ซม. | 360 กรัม |
สัปดาห์ที่ 22 | 27.8 ซม. | 430 กรัม |
สัปดาห์ที่ 23 | 28.9 ซม. | 501 กรัม |
สัปดาห์ที่ 24 | 34.6 ซม. | 600 กรัม |
สัปดาห์ที่ 25 | 34.6 ซม. | 660 กรัม |
สัปดาห์ | ความยาว | น้ำหนัก |
สัปดาห์ที่ 26 | 35.6 ซม. | 760 กรัม |
สัปดาห์ที่ 27 | 36.6 ซม. | 875 กรัม |
สัปดาห์ที่ 28 | 37.6 ซม. | 1.01 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 29 | 38.6 ซม. | 1.15 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 30 | 39.9 ซม. | 1.32 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 31 | 41.1 ซม. | 1.50 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 32 | 42.4 ซม. | 1.70 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 33 | 43.7 ซม. | 1.92 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 34 | 45 ซม. | 2.15 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 35 | 46.2 ซม. | 2.38 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 36 | 47.4 ซม. | 2.62 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 37 | 48.6 ซม. | 2.86 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 38 | 49.8 ซม. | 3.08 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 39 | 50.7 ซม. | 3.29 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 40 | 51.2 ซม. | 3.46 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 41 | 51.3 ซม. | 3.60 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 42 | 51.5 ซม. | 3.69 กิโลกรัม |
สัปดาห์ที่ 43 | 51.7 ซม. | 3.72 กิโลกรัม |
นี่ก็คือทั้งหมดที่มาดามนำมาฝากคุณในครั้งนี้ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถไปช้อปกันต่อได้เลยที่ Central Online พบสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย