คุณแม่ต้องอ่าน! รวมพัฒนาการลูกน้อย วัยแรกเกิด – 12 เดือน

สวัสดีค่ะเหล่าคุณแม่ พบกับมาดามอีกเช่นเคย ในครั้งนี้มาดามก็มีสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้มาฝากกันอีกเช่น ซึ่งจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “พัฒนาการ” นั่นเอง มาดูกันว่าตั้งแต่ วัยแรกเกิด – 12 เดือน ลูกน้อยควรมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เพื่อลดความกังวลของคุณพ่อคุณม่ว่าลูกของเราจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น โดยจะเป็นข้อมูลที่มาจาก My Little Club

พัฒนาการของลูกวัยแรกเกิด – 4 เดือน

baby development (3)

วัยแรกเกิด – 1 เดือน

  • การเคลื่อนไหว การได้ยิน มีเสียง ตอบโต้เมื่อได้ยิน
  • สายตา เริ่มจ้องหน้าแม่
  • ปฏิกิริยาตอบสนอง
  • มองตามของที่มีสีสัน

สิ่งที่ต้องระวัง: ไม่ควรออกนอกบ้านไปตากอากาศเพราะหม่อมยังไม่หุ้ม

วัย 2 เดือน

  • กล้ามเนื้อคอและศีรษะแข็งแรงขึ้น
  • น้ำลายไหลยืด
  • ดูดนิ้ว
  • กลิ้งไป กลิ้งมา

สิ่งที่ต้องระวัง: ไม่ควรออกนอกบ้านเพราะเสี่ยงเชื้อโรค

วัย 3 เดือน

  • แยกเสียงพูดและเสียงอื่นได้
  • คว้าจับขยับมือ นอนคว่ำได้แล้ว
  • ยิ้มเก่ง เผยรอยยิ้มน่ารัก

สิ่งที่ต้องระวัง: เริ่มคว้าจับ ระวังเชือกสายและผ้าพันตัวลูก และอมของเล่น

วัย 4 เดือน

  • จำหน้าคนในครอบครัวได้
  • อยากจะนอนคว่ำ
  • หัวเราะคิกคัก
  • ชอบฟังเสียง

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังหมอนตุ๊กตานุ่มๆ ทำลูกหายใจไม่ออก

พัฒนาการของลูกวัย 5 – 8 เดือน

baby development (1)

วัย 5 เดือน

  • หยิบจับของได้ด้วยนิ้วโป้ง และนิ้วชี้พลิกคว่ำ พลิกหงายได้แล้ว
  • เข้าใจชื่อคนและสิ่งของ
  • ชอบเล่นเขย่าของ

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังของเล่นที่มีเหลี่ยม มีคม

วัย 6 เดือน

  • พลิกคว่ำได้คล่อง
  • รู้ชื่อตัวเอง
  • คุยตอบโต้ได้
  • ส่งเสียงเรียกได้
  • นอนหงาย จับนิ้วเท้าตัวเอง

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังการแพ้อาหารของลูกเพราะเริ่มให้อาหารเสริม ต้องสังเกตลูกให้ดี

วัย 7 เดือน

  • เริ่มพูดคำเฉพาะ แมะๆ ป๊าๆ
  • พยายามเลียนแบบเสียง
  • คลานได้ทั้งวัน
  • ชอบของเล่นสุดๆ

สิ่งที่ต้องระวัง: ให้กินผลไม้สุกได้แต่ระวังเมล็ดติดคอ

วัย 8 เดือน

  • เริ่มสำรวจของเล่น หยิบ กัด ชิม ตี
  • ชอบพูดงืมงำ แต่ไม่เป็นคำ
  • เริ่มจะยืน
  • ติดแม่มาก

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังอาหารติดคอลูกเพราะยังไม่ชินกับอาหารปั่นหยาบ

พัฒนาการของลูกวัย 9 – 12 เดือน

baby development (2)

วัย 9 เดือน

  • ชอบปรบมือ ชอบเล่น จ๊ะเอ๋ ความจำดีมาก
  • ตั้งไข่ลุกขึ้นยืน ทรงตัวได้
  • พูด ปาป๊า มาม่า หม่ำ หม่ำ
  • ชอบครบมือ ชอบเล่นจ๊ะเอ๋
  • ความจำดีมาก
  • ชอบโยนของ เล่นให้มีเสียง

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังลูกเอานิ้วแหย่ปากไฟและรู้ต่างๆ

วัย 10 เดือน

  • รู้จักคำประกอบ ท่าทางไม่เอาส่ายหน้า ทำท่าบ๊ายบาย
  • เกาะเปลยืนเองและนั่งเองได้

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังลูกปีนป่ายโต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้

วัย 11 เดือน

  • เริ่มพูดเป็นคำแต่ไม่ชัด
  • ชอบชี้นิ้วเลียนแบบพ่อกับแม่
  • จีบนิ้วหยิบขนมเข้าปากได้
  • เริ่มมีความคิดอิสระ

สิ่งที่ต้องระวัง: ระวังของเล่นและของมีคม ของมีสารอันตราย เพราะลูกชอบหยิบเข้าปาก

วัย 12 เดือน

  • ความจำดี พูดได้มากขึ้น
  • ชอบผลักและโยนของ
  • เริ่มมีอารมณ์ ไม่พอใจและต่อต้าน

สิ่งที่ต้องระวัง: ลูกจะฝึกเดินทั้งวัน ระวังสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย

ก็จบลงไปแล้วสำหรับพัฒนาการในช่วงแรกเกิด – 12 เดือน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ทุกท่านที่เป็นห่วงเป็นใยลูกน้อย สำหรับใครที่อยากได้สาระดีๆ เกี่ยวกับเรื่องแม่และเด็ก สามารถไปติดตามอ่านต่อกันได้ที่ My Little Club FB Page และสำหรับใครที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถไปช้อปกันต่อได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำ ที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย