แรกเกิด – 4 เดือน
เด็กในช่วงแรกเกิดนี้จะกินแต่นมแม่เท่านั้น เพราะนมแม่มีสารอาหารที่พอเพียง และเด็กทารกสามารถกินต่อเนื่องไปได้จนถึง 6 เดือน แต่สำหรับคุณแม่ท่านใดไม่สามารถให้นมแม่ได้ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องให้เป็นนมผสมหรือแบบดัดแปลงแทน เพื่อให้เขาสามารถเติบโตได้ตามเกณฑ์ แต่อย่างไรควรให้เกิน 4 เดือน สำหรับวัยนี้เด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เห็นได้ชัดคือ การหันหน้าเข้าอกแม่ ดูด กลืน ซึ่งนับเป็นพัฒนาการด้านการกินในขั้นแรกที่ปรากฏให้เห็น
4 – 6 เดือน
ดังที่แจ้งไว้ข้างต้น เด็กยังคงต้องกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนพัฒนาการอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มเห็นได้ชัดคือ เป็นช่วงวัยที่เขาสามารถชันคอได้ การทรงตัวของลำตัวเริ่มดี เริ่มใช้มือคว้า จากที่ใช้ลิ้นดุน ก็จะเพิ่มตามมาด้วยการใช้ขากรรไกรขยับขึ้นลงสำหรับบดอาหาร หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว เด็กจะเริ่มนั่งได้ ในช่วงนี้สามารถเพิ่มอาหารได้ 1 มื้อต่อวัน โดยควรเป็นอาหารที่สามารถบดและกลืนได้ง่าย เช่น แครอท ฟักทอง บร็อกโคลี่ โดยนำไปต้มให้สุก และห้ามปรุงรสเด็ดขาด
6 – 8 เดือน
ในช่วงนี้เริ่มให้เป็นข้าวหรือข้าวกล้องได้แล้ว โดยเป็นลักษณะต้มบดละเอียด เพื่อยังคงให้เขากลืนง่าย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะใช้วิธีปั่นอาหารโดยเครื่องปั่นเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วได้เช่นกัน และยิ่งรังสรรค์เมนูอาหารได้หลากหลายยิ่งกว่า เมนูเบื้องต้นที่แนะนำ เน้นย้ำเป็นข้าวที่ปั่นกับผักต่างๆ (คล้ายซุปอยู่กลายๆ) เปลี่ยนวัตถุดิบไปได้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น แครอท ถั่วลันเตา ฟักทอง ผักกาดขาว นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่จะสามารถทดสอบอาการแพ้อาหารของลูกได้อีกด้วย ส่วนผลไม้ก็ให้เป็นอาหารว่างได้ เช่น มะละกอสุก กล้วย
เก้าอี้ทานข้าว FISHER PRICE
฿7,990 (ปกติ ฿13,500)
COMBI ถ้วยหัดดื่ม
฿995
8 – 10 เดือน
เป็นวัยที่เด็กจะเริ่มใช้มือถนัดขึ้น และการใช้นิ้วมือก็เริ่มเก่งขึ้นเล็กน้อย
อาจจะเริ่มกำช้อนได้แต่ก็ยังไม่แข็งมากนัก ช่วงวัยนี้ยังคงกินนมแม่อยู่ แต่อาหารจะเพิ่มเป็น 2 มื้อ และอาหารก็เริ่มหยาบขึ้นได้เล็กน้อย เนื่องจากเริ่มหัดเคี้ยวแล้ว เพิ่มเติมด้วยอาหารที่มีโปรตีนอย่าง ปลา ไก่ ไข่แดง ตับ หมูสับ หมูบด ที่ต้มสุกจนอ่อนนุ่ม ซึ่งอาหารเหล่านี้ควรเพิ่มเติมทีละน้อย และคอยสังเกตว่าลูกชอบและไม่ชอบอะไร คายอาหารหรือไม่ แต่อย่าบังคับเขารับประทาน
10 – 12 เดือน
ฟันของลูกจะเริ่มขึ้นหลายซี่ ทำให้เขาเคี้ยวได้เก่งขึ้น ใช้มือและนิ้วค่อนข้างถนัดแล้ว เด็กบางคนอาจเริ่มป้อนตัวเองได้ เนื่องด้วยช่วงวัยนี้เด็กจะเริ่มสนใจอาหารใหม่ๆ รสชาติใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงเริ่มปรุงรสอาหารแบบอ่อนๆ ได้ สามารถเพิ่มปริมาณมื้อได้มากขึ้น แต่อาหารอย่าเพิ่งหยาบไปมากกว่าเดิม
฿75
COMBI ชุดอุปกรณ์รับประทานอาหารสำหรับเด็ก
฿3,450
12 – 24 เดือน
ลูกจะสามารถรับประทานข้าวแบบไม่ปั่นละเอียดได้บ้างแล้ว ในวัย 1 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยรับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อให้ครบสารอาหาร โดยแต่ละมื้อควรประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ แต่ก็ยังสามารถดื่มนมแม่จากภาชนะต่างๆ ควบคู่กันไปได้เป็นอาหารเสริม เพราะนมแม่ยังคงมีคุณค่าสำหรับร่างกายของลูกอยู่เสมอ
- นำแครอทและมันหวานห่อฟอยล์แยกต่างหาก ก่อนนำไปอบ
โดยแครอทใช้เวลา 30 นาที ส่วนมันหวานใช้เวลา 45 นาที - เมื่ออบแครอทเสร็จแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น และเมื่อมันหวานอบเสร็จแล้วให้ลอกเปลือกออก
- บดหรือปั่นด้วยเครื่องปั่นอย่างละเอียด พร้อมกับน้ำ จนเนียนละเอียด
พร้อมให้ลูกน้อยรับประทานได้ - สามารถแช่เก็บตู้เย็นได้นาน 3 วัน
TEFAL เครื่องบดสับอาหาร
฿1,890 (ปกติ ฿1,990)
12 – 24 เดือน
ข้าวกล้องธัญพืช
- หุงข้าวกล้องเตรียมไว้ ให้ข้าวกล้องนุ่ม บดเคี้ยวง่าย
คลุกกับน้ำมันมะกอกเล็กน้อย - เพิ่มข้าวโพด ถั่ว อะโวคาโดชิ้นเล็กลงบนหน้าข้าว หรือผัดให้เข้าเนื้อกันก็ได้
- เพิ่มเติมหรือดัดแปลงประเภทของผักได้ เช่น แครอท ผักโขม มันฝรั่ง
- สามารถผสมเนื้อสัตว์หั่นเต๋าเล็กได้ เช่น เนื้อไก่ ปลา หมูสับ
***ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชั่น***
CR: hifamilyclub/mamaexpert/healthline/
babyfoode/Eggs.ca/happiestbaby/Parenting/
healthxchange/bamboobamboo.co