เผลอแปบเดียวเราก็มาถึงปี 2565 กันแล้ว ที่มาดามเชื่อว่าหลายๆ คนคงกำลังมองหา “แล็ปท็อป” เครื่องใหม่กันอยู่แน่ๆ แต่น่าจะติดปัญหากันตรงที่ว่าไม่รู้ว่าจะเลือกโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่ยังไงดี ให้ตรงกับใจ ในวันนี้มาดามจึงมีทริกเล็กๆ น้อยๆ มาฝากทุกคนกัน รับรองว่าต้องช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้นแน่ๆ จะมีทริกอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย
1. เลือกการ์ดจอและหน่วยประมวลผล (CPU) ให้เหมาะสมกับงานที่นำไปใช้งาน
มาดามจะบอกเลยว่านี่คือ penpoint สำคัญ ที่สร้างปัญหาโลกแตกให้กับหลายๆ คนมาแล้ว เพราะบางรุ่นการ์ดจอแรงซีพียูดรอปลงมาหน่อย กับบางรุ่นที่การ์ดจอด้อยแต่ซีพียูแรงมากๆ แต่ราคาดันมาใกล้เคียงกันซะอย่างนั้น เอาล่ะ!! ปัญหานี้จะหมดไปถ้าคุณใช้เกณฑ์ตามมาดาม ทุกครั้งที่มาดามจะเลือกระหว่างสองอย่างนี้ มาดามจะใช้เกณฑ์ง่ายๆ สองอย่าง คือ เอาไปเล่นเกม หรือ เอาไปทำงานตัดต่อ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 นำไปเล่นเกม – ถ้านำไปเล่นเกม มาดามแนะนำว่าให้คุณดูส่วนของการ์ดจอ (Graphic Card) เป็นหลัก เพราะสิ่งนี้เป็นตัวแปรหลักที่จะทำให้คุณเล่นเกมภาพสวยๆ ได้อย่างไหลลื่น ซีพียูจะมีความสำคัญลองรงมา ไม่ต้องไปโฟกัสมากนัก ที่มาดามบอกเช่นนี้ เป็นเพราะว่าแล็ปท็อปส่วนใหญ่ที่เอาไว้เล่นเกมนั้น เขานำซีพียูที่มีพลังมากพอในการทำงานร่วมกับการ์ดจออยู่แล้ว ไม่คอขวด* แน่นอน
* อาการคอขวด คือ อาการที่ซีพียูหรือการ์ดจอมีความแรงต่างกันมากเกินไป ทำให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
1.2 นำไปใช้ในงานตัดต่อ – ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้งานฝั่งด้านกราฟิกเป็นหลัก งานตัดต่อ งาน Render วีดีโอ คุณจะต้องโฟกัสไปที่ฝั่งซีพียูเป็นหลัก ยิ่งแรงเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะสิ่งนี้จะทำให้คุณทำงานได้รวดเร็วขึ้น ตัดต่อไฟล์ใหญ่ๆ ได้สบายๆ แต่อย่างไรก็ตาม“แรม” ก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกันในการทำงานด้านนี้ แต่เดี๋ยวมาดามขออุบเอาไว้ตรงนี้ก่อน เดี๋ยวมาดามจะขยายความเรื่องแรมในลำดับต่อๆ ไป
2. แรมขั้นต่ำต้อง 16 GB
หลายๆ คนที่เคยซื้อแล็ปท็อปอาจจะมีแย้งๆ กับมาดามเล็กน้อยว่า แรมขั้นต่ำ 8 GB ก็น่าจะเพียงพอแล้ว อันนี้มาดามต้องบอกเลยว่า มันอาจจะไม่เพียงพอแล้วในสมัยนี้ เพราะแค่เปิด Google Chrome รวมกับโปรแกรมอะไรอีกนิดหน่อยก็น่าจะเกือบเต็มแล้ว เพราะฉะนั้นมาดามแนะนำว่าถ้าจะซื้อแล็ปท็อปในปี 2565 ควรมีแรมอย่างน้อยถึง 16 GB แล้ว เพื่อให้ครอบคลุมทุกการทำงานไม่ว่าจะเล่นเกม ใช้งานทั่วไป หรือใช้ในงานตัดต่อ แต่ถ้าจะเอาให้ใช้งานลื่นแบบไม่มีสะดุด มาดามแนะนำให้ติดตั้งแรมให้ไปถึง 32 GB เลยยิ่งดี
*ข้อควรระวัง – โน้ตบุ๊กบางรุ่นไม่สามารถอัพเกรดแรมได้เพราะเป็นแรมที่ฝังมากับเมนบอร์ดเลย อันนี้ต้องสอบถามพนักงานหรือหาข้อมูลให้ดีๆ ก่อนนะ
3. จอภาพความละเอียดขั้นต่ำ 1920 x 1080 พร้อมระบบ IPS
หน้าจอนี่เป็นอะไรที่มาดามเองก็ให้ความสำคัญมากๆ เพราะเป็นฟีเจอร์หลักที่เราต้องใช้งานบ่อยๆ ไม่ว่าจะใช้ดูหนัง ทำกราฟิก หรือเล่นเกม เพราะฉะนั้นจอภาพจะต้องมีความสวยงามถึงจะทำกิจกรรมเหล่านี้ได้แบบฟินๆ ดังนั้น ภาพอย่างต่ำ มาดามแนะนำเลยต้องละเอียดอย่างน้อย 1920 x 1080 และต้องเป็นระบบ IPS ด้วยนะ ที่ต้องเป็นระบบ IPS นั่นก็เพราะว่าจอประเภทนี้จะมีสีที่คมชัดทุกมุมมอง ไม่ผิดเพี้ยนนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีบางค่ายได้ทำจอ OLED (จอที่สีดำ เป็นสีดำสนิท ทำให้ภาพมีความสวยงามสุดๆ) ที่คมชัดยิ่งกว่า IPS ออกมาแล้ว ถ้าใครอยากได้รับประสบการณ์ที่ฟินกว่าเดิม ก็เลือกจอ OLED ไปเลย รับรองว่าไม่ผิดหวัง
4. หมดยุคฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ขั้นต่ำต้อง SSD เท่านั้น
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประการที่คุณห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะมีผลกับการใช้งานสุดๆ นั่นก็คือเรื่องของฮาร์ดดิสก์หรือหน่วยเก็บข้อมูลนั่นเอง มาดามแนะนำว่าอย่าเน้นปริมาณนะ ให้ดูด้วยว่าเขาใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ปกติหรือ SSD เพราะตอนเราเข้าโปรแกรมหรือเปิดเครื่อง ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ธรรมดา จะเปิดได้อืดสุดๆ รอราวๆ 5-7 นาทีเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็น SSD จะเปิดเครื่องหรือเปิดโปรแกรมก็เร็วกว่ามากๆ โดยการเปิดเครื่องนั้นจะเหลือไม่กี่นาทีเท่านั้น เรียกว่าเปิดปุ๊บใช้งานได้ปั๊บเลย ถ้ายังไม่เห็นภาพ สามารถคลิ้ก ที่นี่ เพื่อไปรับชมวีดีโอเปิดเครื่องด้วย SSD ได้เลย รับรองว่าถ้าได้ลองใช้แล้ว จะกลับไปใช้งานแบบช้าๆ ไม่ได้อีกเลยล่ะ
5. ระบบระบายความร้อน ต้องดูให้ดี มีผลสุดๆ
ขอบคุณภาพจาก: Notebook Check
อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ เรื่องของระบบระบายความร้อน โดยเฉพาะกับการนำไปใช้เล่นเกม ต่อให้สเปคจะแรงแค่ไหน แต่ถ้าระบบระบายความร้อนทำออกมาได้ไม่ดี จะทำให้แล็ปท็อปของคุณเสียเร็วขึ้นมากๆ ส่วนทางด้านคนที่โน้ตบุ๊กมาใช้งานทั่วไป อาจจะไม่ต้องโฟกัสเรื่องนี้มากนัก แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรนำ Laptop ของคุณไปใช้เล่นเกมหนักๆ เพราะแล็ปท็อปทำงานไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเล่นเกม หรือใช้งานต่อเนื่องในสภาวะที่มีความร้อนสูงๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้นการเลือกแล็ปท็อปต้องเลือกที่มีระบบระบายความร้อนที่สัมพันธ์กับการใช้งานด้วย
6. พอร์ตที่ให้มา ต้องเพียงพอต่อความต้องการ
พอร์ต (Port) ที่มาดามพูดถึงก็คือช่องเสียบต่างๆ ที่ติดมาอยู่ตามเครื่องแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊กของเรานั่นเอง ซึ่งหลักๆ ที่เห็นก็จะมี
- Port USB 2.0 และ 3.0 – หลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะเป็นพอร์ตที่นิยมในการใช้งานมากที่สุด
- Port USB-C – ช่องเสียบจะเป็นรูเล็กๆ สำหรับใส่กับสาย USB-C ที่มีความนิยมอีกสายหนึ่ง
- Thunderbolt Port – สามารถเล่นวิดีโอที่มีความละเอียด 1080p ได้พร้อม ๆ กันถึง 4 เรื่อง และยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลของไฟล์ขนาด 5 GB จาก Hard drive ไปยังคอมพิวเตอร์ภายในเวลาประมาณ 10 วินาที เท่านั้น
และยังมีพอร์ทอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อ คุณต้องสำรวจก่อนว่าจำเป็นต้องใช้พอร์ตเหล่านี้มากน้อยขนาดไหน เพราะแต่ละเครื่องให้มาไม่เท่ากัน แม้ว่าพอร์ตเหล่านี้จะมีตัวแปลงให้กลายเป็นพอร์ตที่ต้องการ เช่น USB-C to Micro USB แต่มาดามเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากมีสายพะรุงพะรังเต็มโน้ตบุ๊คแน่ๆ แถมจะไปไหนที ต้องขนสายพวกนี้ติดไปด้วยตลอดอีกต่างหาก
7. ระบบเสียงดีในระดับหนึ่ง ไม่ถึงกับแย่
สำหรับคนที่เลือกโน้ตบุ๊คไปใช้ในความบันเทิงเป็นหลัก อาทิ การดูหนัง หรือฟังเพลง สิ่งที่ต้องคำนึงอีกหนึ่งสิ่งนั่นก็คือ ระบบเสียงนั่นเอง ที่ควรจะมีความดีงามในระดับหนึ่ง เก็บย่านเสียงได้ครบ และดังในระดับหนึ่ง เพราะมาดามเชื่อว่าคุณจะต้องมีโอกาสที่จะได้ใช้ลำโพงที่ติดมากับเครื่องแน่ๆ ถ้าไม่อยากสวมหูฟังทุกครั้งเพื่อดูหนังหรือฟังเพลงให้หงุดหงิด สำรวจเรื่องนี้ให้ดีก่อน จะดีมากเลย
8. น้ำหนักเครื่อง ต้องสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งาน
ขอบคุณภาพจาก: Linux Hint
สำหรับคนที่เลือกโน้ตบุ๊กมาเพื่อใช้ “พกพา” ไปไหนมาไหนจริงๆ น้ำหนักคืออีกหนึ่งสิ่งที่คุณจะต้องคำนึงถึงด้วย โดยมาดามแนะนำว่าไม่ควรจะเกิน 1.5 กิโลกรัม ถ้าหนักกว่านี้ เมื่อเราถือขึ้นมาจะรู้สึกว่าเริ่มหนักแล้ว แต่..สำหรับแล็ปท็อปเกมมิ่ง น้ำหนักอาจจะต้องเป็นเรื่องรองลงมา เพราะมาดามเชื่อว่าคุณไม่ค่อยจะพกไปไหนมาไหนอยู่แล้ว เนื่องจากแล็ปท็อปพวกนี้มักจะมีเครื่องที่ใหญ่ หรือเทอะทะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพื่อให้มีที่ว่างพอสำหรับใส่ที่ระบายความร้อนนั่นเอง
9. ออพชั่นเสริมอื่นๆ
ออพชั่นเสริมนั้น คือ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าไลฟ์สไตล์ในการใช้งานของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องสำรวจออพชั่นเสริมอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากฟังก์ชั่นปกติด้วย อาทิ ระบบสแกนลายนิ้วมือ, กล้องเว็บแค็ม, Software สำหรับปรับแต่งพัดลม และอื่นๆ ออฟชั่นเสริมเหล่านี้ สำหรับบางคนอาจจะไม่สำคัญ แต่ถ้าใครต้องใช้ออฟชั่นเสริมเหล่านั้นแบบจริงๆ จังๆ ก็อย่าลืมนำมาใช้เป็นเกณฑ์ด้วยล่ะ
10. การรับประกันสำคัญมาก งาน On Site ต้องมา
สิ่งสุดท้าย แต่ไม่ใช่ว่าอยู่สุดท้ายคือไม่สำคัญนะ สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เช่นกัน มาดามแนะนำว่าให้ซื้อแล็ปท็อปที่มีประกัน On-Site ไปเลย เพราะสร้างความสะดวกสบายให้กับเราเป็นอย่างมาก เวลาที่แล็ปท็อปเกิดรวน เกิดมีปัญหาสักอย่างขึ้นมา ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปหาวิธีจาก Google เองอีกต่อไป เรียกช่างมาดูที่บ้านได้เลย แถมยังเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งด้วยว่า เครื่องรุ่นนั้นยังหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะส่วนใหญ่ On-Site จะใช้เวลาเคลมประมาณ 3 วันนั้นนั่นเอง (วันแรกแจ้งเคส วันที่สองช่างไปเบิกอะไหล่ และวันที่สามเดินทางมาซ่อมให้กับเรานั่นเอง
ก่อนที่จะลาจากกันไป มาดามอยากจะย้ำให้คุณฟังอีกทีว่า 10 ประการข้างต้นนั้นเป็นความเห็นส่วนตัวของมาดามเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ที่ช่วยให้คุณซื้อแล็ปท็อปได้ง่ายขึ้น ดังนั้น มาดามขอสรุปให้ง่ายๆ ว่า ให้คุณเลือก “แล็ปท็อปที่ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เอาไปดูหนัง ตัดต่อ หรือนำไปเล่นเกม เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปได้โดยง่าย ว่าต้องโฟกัสไปที่ส่วนไหนก่อน”
แล็ปท็อปที่น่าสนใจ
โน๊ตบุ๊ค INBOOK X1 PRO (14″, Intel Core i7, RAM 16 GB,512 GB) รุ่น INBOOK X1 Pi7 GREY
ราคา: 25,990 24,990 บาท (ประหยัด 4%)
โน๊ตบุ๊ค Matebook 14 (14″, Intel Core i5, RAM 16 GB, 512 GB) รุ่น 14-I5-KELVIND-WFH9A
ราคา: 34,990 บาท
โน๊ตบุ๊คเกมส์ Nitro (15.6″, Intel Core i7, RAM 16 GB, 512 GB) รุ่น AN515-57-79XCBK
ราคา: 39,990 บาท
โน๊ตบุ๊ค Yoga Slim 7 Carbon (14″, AMD Ryzen 5, RAM 16 GB, 512 GB) รุ่น S7C-14ACN/82L00013TA + กระเป๋า
ราคา: 39,990 บาท
สำหรับใครที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถไปกันต่อได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าพรีเมี่ยมที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย