โดยปกติ เราคุ้นชินกับปัญหาของคนมีน้ำหนักมาก มีน้ำหนักเกิน เจ้าเนื้อ และอยากหาวิธีลดน้ำหนักให้ร่างกายดูผอมสวย เป๊ะปัง มีหุ่นดีเหมือนคนทั่วไป เพียงกูเกิ้ลคำว่าลดน้ำหนัก เราก็จะพบวิธีลดน้ำหนักมากมาย ทั้งการลดอาหาร การออกกำลังกายที่ทำให้เรามีร่างกายฟิตแอนด์เฟิร์ม มีหุ่นสวยๆ ตามที่เราต้องการ
แต่สำหรับคนผอม ผอมมาก Super Skinny จนคนเห็นแล้วนึกว่าเป็น Anorexia หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นโรคคลั่งผอม ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งในกลุ่มโรคการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorders แต่คนผอมมากเหล่านี้อาจรับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเอง ไม่เคยมีปัญหาในการรับประทาน ไม่เคยอดอาหาร แต่รับประทานเท่าไหร่ก็ผอมเหมือนเดิม
บางครั้งการเพิ่มน้ำหนักสำหรับคนผอมมากอาจดูยากกว่าการลดน้ำหนักของคนเจ้าเนื้อ หากใครก็ตามที่กำลังตกอยู่ในสภาวะผอมมากแบบนี้ แล้วอย่ากเพิ่มน้ำหนักอีกสักนิด Central Inspirer ชวนคุณมาพูดคุยกันว่าสาเหตุของการที่รับประทานเท่าไหร่แล้วไม่อ้วนเกิดจากอะไร พร้อมแนะนำวิธีแนะนำเพิ่มน้ำหนักให้คนผอมกลับมามีเนื้อมีหนัง มีน้ำมีนวลขึ้น ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงนะคะ มาดูกันเลยค่ะ
ทำไมรับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน
สาเหตุที่ทำให้รับประทานอาหารเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนอาจเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
1. ระบบเผาผลาญดี (Good Metabolism)
ร่างกายของแต่ละคนมีการทำงานที่แตกต่างกันไป รวมถึงความสามารถในการเผาผลาญ หรือในการรับมือกับพลังงานจากอาหาร บางคนอาจไม่ได้มีปัญหาสุขภาพ แต่ระบบร่างกายทำงานได้ดี ระบบเผาผลาญดีมาก รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน รวมทั้งระบบการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร และการนำพลังงานไปใช้ทำงานได้ดี แถมขับถ่ายดี รับประทานเท่าไหร่จึงไม่เคยอ้วน
อีกทั้งปัจจัยบางอย่างอาจส่งผลต่อประสิทธิของระบบเหล่าการทำงานของร่างกายเหล่านี้ เช่น ขนาดและโครงสร้างของร่างกาย ปริมาณกล้ามเนื้อ ส่วนสูง เพศและอายุ โดยปกติ ผู้ชายจะสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่า คนมีอายุน้อยระบบเผาผลาญย่อมทำงานได้ดีกว่าคนที่มีอายุมาก
2. รูปแบบการใช้ชีวิต (Eating Habit & Lifestyle)
รูปแบบการใช้ชีวิตก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้รับประทานอาหารเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน บางคนอาจรับประทานอาหารในปริมาณมาก แถมยังชอบรับประทานจังก์ฟู้ด แต่ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องใช้แรงและพลังงานในปริมาณมากอยู่เสมอ อาจทำให้พลังงานที่กินเข้าไปนั้นไม่เพียงพอ ซึ่งอาจสังเกตได้จากคนที่ต้องใช้แรงในการทำงานและคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะรับประทานมากเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยอ้วน
นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ก็มีส่วนส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีรูปแบบการใช้ชีวิตตามที่กล่าวไปข้างต้น
3. ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism หรือ Graves’ Disease)
ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxine) ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ ซึ่งอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักและหลั่งฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ จนทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนักตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจประสบกับปัญหารับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน น้ำหนักขึ้นยาก หรือน้ำหนักตัวลดโดยไม่มีสาเหตุ
คนที่ป่วยเป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษอาจพบอาการอื่นๆ ร่วมกันอีกด้วย อาทิ มีความอยากอาหาร หิวบ่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หงุดหงิด เหงื่อออกง่าย มือสั่น ตัวสั่น วิตกกังวล หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ยิ่งหากพบปัญหาน้ำหนักขึ้นยากหรือน้ำหนักตัวลดโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับอาการในลักษณะนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
4. ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ (Digestive System)
ลำไส้และระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนที่ใช้ลำเลียงอาหาร ย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการขับถ่าย และอีกหลากหลายหน้าที่ หากระบบทางเดินอาหารและลำไส้เกิดความผิดปกติ ก็อาจส่งผลต่อจัดการกับอาหารและสารอาหารที่จะนำไปเป็นพลังงานของร่างกาย จึงไม่แปลกถ้าใครเป็นเกี่ยวกับลำไส้แล้วจะพบปัญหารับประทานอาหารเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน หรือปัญหาการเพิ่มน้ำหนักโดยไม่รู้ตัว
ปัญหาลำไส้ที่อาจส่งผลต่อน้ำหนักตัว เช่น โรคพยาธิในลำไส้ โรคโครห์น (Crohn’s Disease) โรคลำไส้อักเสบ ภาวะไม่ทนทานต่อแล็กโทส (Lactose Intolerance) โรคแพ้กลูเตน และโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เป็นต้น หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มน้ำหนัก น้ำหนักลดผิดปกติ ท้องเสียบ่อย ท้องผูกบ่อย อาหารไม่ย่อย อุจจาระมีกลิ่น มีสี หรือมีลักษณะที่เปลี่ยนไป ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ค่ะ
5. โรคเรื้อรัง (Chronic Diseases)
โรคเรื้อรังหลายโรคสามารถส่งผลให้สุขภาพร่างกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรมจนอาจเป็นเหตุให้น้ำหนักตัวลดลงได้โดยไม่ทราบสาเหตุ รับประทานมากเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน หรือประสบปัญหาการเพิ่มน้ำหนักได้ เช่น โรคมะเร็ง การติดเชื้อเอชไอวี โรควัณโรค และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการอื่นนอกจากปัญหาเรื่องน้ำหนักได้เหมือนกัน หากพบอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ ควรพบแพทย์ขอคำปรึกษาโดยทันที
วิธีเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างถูกต้อง
หากคุณเป็นคนผอมจัด และอยากเพิ่มน้ำหนัก อยากดูมีน้ำมีนวลขึ้น ควรหาวิธีเพิ่มน้ำหนักอย่างถูกต้อง อย่าหาวิธี short cut ที่อาจทำให้คุณมีปัญหาสุขภาพตามนา
1. ตั้งเป้าหมายของน้ำหนักตัวที่ต้องการ
บางคนที่ผอมมากๆ แล้วอยากเพิ่มน้ำหนัก แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าอยากจะเพิ่มน้ำหนักสักเท่าไหร่ รู้เพียงว่าอยากให้ตัวเองดูอ้วนขึ้นอีกสักนิด ดูมีน้ำมีนวลสักหน่อย แต่การตั้งเป้าหมายในการเพิ่มน้ำหนักก็เป็นเรื่องที่ดี โดยขั้นแรก ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับอายุ ส่วนสูง และเพศของคุณ ลองคำนวณดูว่าสำหรับคุณ น้ำหนักที่กำลังพอดี สมส่วน ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ เสิร์ชกูเกิ้ลหาแอป หรือเว็บไซต์ที่สามารถคำนวณน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และพลังงานที่ควรรับต่อวันได้ง่ายๆ มีอยู่มากมาย ข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยให้การวางแผนเพิ่มน้ำหนักของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ตรวจสุขภาพร่างกายและปรึกษาแพทย์
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องแปลก หรือไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะตรวจสุขภาพร่างกาย หรือปรึกษาแพทย์ก่อนการเพิ่มน้ำหนัก หากคุณจริงจัง อยากเพิ่มน้ำหนักแบบมีสุขภาพและให้มีสุขภาพดี การพบแพทย์และการตรวจร่างกายทำให้เราเข้าใจว่าระบบเผาผลาญของเราเป็นอย่างไร หรือเรามีโรคแทรกซ้อนอะไรที่เราไม่เคยรู้ เช่น เราอาจมีโรคพยาธิ เป็นโรคกระเพาะ โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ โรคติดเชื้อหรือระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ซึ่งหากปล่อยไว้ ไม่ว่าคุณจะรับประทานอาหารมากเท่าไหร่ หรือรับประทานอะไรก็จะไม่อ้วนอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น การไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพร่างกาย จะได้รู้ว่าที่ผอมเรามีร่างกายผอมมากขนาดนี้เกิดจากสาเหตุใด
3. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนอาหาร
การับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักอาจไม่มีประโยชน์เลย หากคุณดื่มน้ำมากๆ ก่อนการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำระหว่างมื้อ โดยปกติ กระเพาะของคนผอมมักจะรับอะไรได้ไม่มากอยู่แล้ว หากคุณดื่มน้ำเข้าไปก่อนการรับประทานอาหาร ยิ่งจะทำให้อิ่มไว รับประทานอาหารได้น้อย ยิ่งทำให้ผอมกันเข้าไปใหญ่ ทางที่ดีควรเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร ควรดื่มน้ำหลังการรับประทานอาหารจะดีที่สุดค่ะ
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การเพิ่มน้ำหนักอย่างถูกต้องและดีต่อสุขภาพ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ อาหารบางอย่างอาจมีรสชาติอร่อยและให้พลังงานสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน หรืออาหารแปรรูปต่างๆ แต่อาหารเหล่านี้มักพ่วงมาด้วยสารอาหารที่เกินความจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่มของไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และโซเดียม การได้รับอาหารจำพวกนี้ในปริมาณที่มาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อสัตว์ลอกหนัง ไขมันดีจากพืชตระกูลถั่วและไขมันดีจากเนื้อปลา เป็นต้น
5. เพิ่มมื้ออาหาร และอาหารว่าง ดีกว่าการรับประทานเยอะๆ ในแต่ละมื้อ
คนที่รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน และคนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักมักใช้วิธีเพิ่มน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหาร 3 มื้อในปริมาณมากๆ ซึ่งบ่อยครั้งอาจทำให้รู้สึกจุก และไม่อยากกินอาหารอีกในมื้อต่อๆ ไปจนทำให้การเพิ่มน้ำหนักตัวล้มเหลวลงได้
ทางที่ดีควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อน้อยๆ แต่เพิ่มเป็นวันละหลายๆ มื้อ รวมทั้งเพิ่มมื้ออาหารว่าง โดยอาจเพิ่มอาหารในช่วงสาย ช่วงบ่าย และก่อนนอนเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย การเพิ่มอาหารในมื้อว่างสามารถช่วยให้ไม่ต้องรับประทานอาหารในมื้อหลักมากจเกินไป และควรจัดสรรพลังงานในแต่ละมื้อไม่ให้ต่ำจนเกินไปด้วย
6. ทานอาหารที่มีไขมัน
อาหารเพิ่มน้ำหนักสำหรับคนที่อยากอ้วน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวหมกไก่ ขนมที่ใส่กะทิ อาหารที่ทำจากปลาทูน่า ปลาแซลม่อน และทุกอย่างที่มีไขมันเยอะๆ แต่ก็ควรระวังไม่รับประทานมากจนเกินไป เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีเสริม อาทิ ไข่ ชีส โยเกิร์ต ปลาทูน่า ปลาแซลมอล ปลาซาร์ดีน ดาร์กช็อกโกแลต หรือเม็ดอัลมอนด์ เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยให้คุณเพิ่มน้ำหนักได้อย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพดีค่ะ
7. ทานผลไม้เพิ่มน้ำหนัก
สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก ขอแนะนำให้รับประทานผลไม้ที่ช่วยเพิ่มน้ำหนัก เช่น กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ขนุน มะม่วงน้ำดอกไม้สุก ลำไย เงาะ ละมุด หรือแม้แต่ทุเรียน แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป รับประทานบ่อยๆ จะช่่วยเพิ่มน้ำหนักได้ รวมทั้งปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
8. ทานอาหารเสริมเพิ่มน้ำหนัก
สมัยนี้มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เลือกซื้อมากมาย อาหารเสริมที่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆเหล่านี้ สามารถช่วยให้คุณเพิ่มน้ำหนักได้ หลายชนิดเมื่อรับประทานเสริมกับการออกกำลังกาย คุณจะสามารถสรา้งกล้ามเนื้อที่สวยงาม และสามารถเพิ่มน้ำหนักได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อเพิ่มน้ำหนัก
OPTIMUM NUTRITION ซีเรียสแมส เวท เกนเนอร์ เวย์โปรตีน ขนาด 6 ปอนด์ รสวานิลลา
ราคา 1,559 บาท
SCITEC NUTRITION เพียว ฟอร์ม วีแกน โปรตีน ขนาด 450 กรัม-รสช็อกโกแลต
ราคา 1,100 บาท
GNC กระบอกเชคเกอร์
ราคา 450 บาท พิเศษ 405 บาท (SAVE 10%)
MUSASHI High Protein Bar – Dark Choc Salted Caramel (12 ชิ้น)
ราคา 2,160 บาท พิเศษ 1,890 บาท (SAVE 13%)
SWISSE Ultiboost Calcium + Vitamin D 150 Tablets อาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดี – Orange
ราคา 945 บาท พิเศษ 550 บาท (SAVE 42%)
9. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ โดยเฉพาะการสร้างกล้ามเนื้อ หรือ Weight Training ผสานกับการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนเพิ่มขึ้น จะช่วยเร่งการสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถกระตุ้นความอยากรับประทานอาหารให้ได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
อุปกรณ์การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ
XTIVEPRO ดัมเบลเปลี่ยนน้ำหนัก ขนาด 24 กก. แผ่นเหล็กพรีเมี่ยม
ราคา 7,999 บาท พิเศษ 3,090 บาท (SAVE 61%)
HARBINGER พุชอัพ โปร รุ่น 18165 สีดำ
ราคา 2,450 บาท พิเศษ 2,205 บาท (SAVE 10%)
XTIVEPRO บาร์เบล ปรับน้ำหนัก คานหยัก ยกน้ำหนัก 20 กก.
ราคา 5,990 บาท พิเศษ 1,250 บาท (SAVE 79%)
FBT เคเทิลบอลปรับได้ 10–40 ปอนด์ LS 2086 รหัส 67365
ราคา 6,800 บาท พิเศษ 6,500 บาท (SAVE 4%)
HARBINGER บาร์โหนออกกำลังกาย รุ่น 18164
ราคา 3,200 บาท พิเศษ 2,880 บาท (SAVE 10%)
ปัญหาของคนที่ผอมมากๆ และอยากเพิ่มน้ำหนักอาจสร้างความทุกข์ใจได้ไม่แพ้กับปัญหาของคนที่มีน้ำหนักเกิน และอยากผอม เผลอๆ อาจทำให้ทุกข์ใจมากกว่าด้วยซ้ำ แต่หากคุณทำตามคำแนะนำที่ Central Inspirer นำมาฝาก พบแพทย์ให้คุณหมอตรวจที่มาว่าความผอมเกินเหตุของคุณเกิดจากสาเหตุอะไร เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำการเพิ่มน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใจเย็นๆ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป อีกไม่นาน คุณก็จะได้หุ่นสวย ดูมีน้ำมีนวล มีน้ำหนักที่พอดี ไม่เชื่อก็คอยดูค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก: pobpad.com / multivitplus.com
Picture credit: pinterest.com / hellokhunmor.com