ในปัจจุบันผู้คนให้ความรักและความสนใจในการเลี้ยงแมวมากขึ้น หลายคนเริ่มตกหลุมรักแมว เริ่มหันมาเลี้ยงแมว และตกเป็นทาสแมวมากๆ ถึงขนาดอิมพอร์ตแมวจากต่างประเทศราคาหลักแสนมาเลี้ยง เข้าใจใด้ เพราะแมวนั้นมีความน่ารักน่าเอ็นดู ชอบมาคลอเคลีย แม้วว่าแมวจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เอาแต่ใจแค่ไหน จะรักความสันโดษมากเพียงใด หรือมีนิสัยคาดเดายากเช่นไร ผู้คนก็ให้ความรัก และอยากเลี้ยงเหมียวน้อยกันอยู่ดี
เมื่อคุณรักแมว และมีความพร้อมในการเลี้ยงดูแมวทั้งในด้านปัจจัย และเวลา คุณเคยลองถามตัวเองหรือไม่ว่าเราเข้าใจในภาษาของแมว หรือ Body Language ของแมวน้อยมากแค่ไหน วันนี้ Central Inspirer ในฐานะของทาสแมวเช่นกัน อยากชวนคุณมาเรียนรู้ และเข้าใจภาษาแมวกันค่ะ
ทำความเข้าใจภาษากายของแมว
สำหรับแมวเหมียวแล้ว วิธีการสื่อสารด้วยภาษากาย หรือ Body Language หรือท่าทางและการเคลื่อนไหวของหางรวมถึงอากัปกิริยาต่างๆ ร่วมกับการเปล่งเสียงของมัน สามารถช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของแมวได้ว่าตอนนี้เหมียวน้อยแสนรักของคุณกำลังต้องการจะสื่อสารอะไร แมวน้อยจะสื่อสารด้วยลักษณะท่าทางดังต่อไปนี้
1. ดูที่หางของแมว
เช่นเดียวกับสุนัข แมวสื่อสารด้วยการวางตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของหาง การกวัดแกว่งหางของแมว ประกอบกับการเปล่งเสียงสามารถช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของแมวได้ ดังนี้
- หางชี้ตรงขึ้นพร้อมกับม้วนงอที่ส่วนท้าย บ่งบอกถึงความสุข
- หางกระตุก บ่งบอกว่าแมวของคุณตื่นเต้นหรือวิตกกังวล
- ขนที่หางเกาะกันเป็นพวงหรือเป็นพวง แสดงว่าแมวของคุณตื่นเต้น ขี้เล่น หรือรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม
- หางสั่น หมายความว่าแมวกำลังตื่นเต้น และดีใจมากที่ได้พบคุณ
- ขนหางเกาะตัวตรงในขณะที่หางม้วนงอเป็นรูปตัว N อันนี้เป็นสัญญาณของความก้าวร้าวความรุนแรง และอาจเกิดขึ้นในระหว่างการต่อสู้หรือการป้องกันตัว
- ขนหางตั้งตรง แต่หางชี้ต่ำ แปลว่าแมวของคุณรู้สึกก้าวร้าวหรือหวาดกลัว
- หางลดต่ำและซุกอยู่ระหว่างขาหลัง แปลว่าแมวของคุณรู้สึกหวาดกลัว
- หางพันรอบขาของคุณ แปลว่าแมวของคุณกำลังทักทายคุณ
2. สังเกตภาษากายอื่นๆ
เนื่องจากแมวมีภาษากายที่คล่องแคล่วกว่ามนุษย์ ท่าทางบางอย่างของแมวจะมาพร้อมกับการเปล่งเสียงเพื่อตอกย้ำข้อความของพวกเขาให้เหล่าทาสแมวทราบ เราลองมารู้จักภาษากายอื่นๆ ของน้องแมวกันนะคะ
- เมื่อแมวน้อยยกจมูกขึ้นและเอียงศีรษะไปข้างหลังเล็กน้อย นั่นแปลว่าแมวของคุณกำลังสื่อสารว่า “ฉันรับทราบ” แมวที่นั่งอยู่ริมหน้าต่าง อาจทักทายคุณในลักษณะนี้เมื่อคุณเดินผ่าน ลองสังเกตดูนะคะ
- แมวอาจวางหูไว้ข้างหลัง หากรู้สึกกลัว วิตกกังวล หรือขี้เล่น นอกจากนี้ยังอาจเห็นได้เมื่อแมวสูดดมสิ่งที่ต้องการทราบเพิ่มเติมอย่างระมัดระวัง
- แมวที่แลบลิ้นออกมาเล็กน้อย และเลียริมฝีปากล่าง แสดงว่แมวน้อยมีความกังวลหรือวิตกกังวล
- แมวถูตัวกับคุณ นั่นแปลว่าแมวกำลังทำเครื่องหมายว่าคุณเป็นทรัพย์สินแมวน้อย
- แมวจูบ ด้วยการนำจมูกที่เปียกชื้นของเขาที่ตัวคุณ เป็นการแสดงท่าทางรักใคร่ นั่นหมายความว่แมวน้อยชอบและรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ใกล้คุณ
- เมื่อแมวถูหัวหรือหางกับคุณ นั่นแสดงว่าเขากำลังแสดงท่าทางทักทายกับคุณ
- แมวจะดมใบหน้าคนเพื่อยืนยันตัวตนตามความคุ้นเคยของกลิ่น
- แมวจะนวดด้วยอุ้งเท้าเป็นจังหวะสลับไปมาระหว่างเท้าขวาและเท้าซ้ายเป็นสัญญาณของความสุขความพอใจ หรือความขี้เล่น การนวดเป็นการบ่งบอกว่าแมวของคุณรู้จักและเชื่อใจคุณ
- การที่แมวเลียคุณ นั่นแปลว่าเขากำลังแสดงสัญญาณแห่งความไว้วางใจขั้นสูงสุด
- แมวบางตัวจะแสดงว่าพวกเขารักคุณจริงๆโดยการลอกเลียนสิ่งที่คุณทำ คุณสามารถทดสอบสิ่งนี้ได้โดยการเล่นตายบนพื้น แมวอาจจะดมหรือสะกิดคุณจากนั้นก็เล่นตายด้วย
- หากแมวของคุณกัดคุณด้วยแรงเพียงเล็กน้อยก็เป็นคำเตือนให้คุณปล่อยให้เขาอยู่ตามลำพัง
วิธีสื่อสารและพูดคุยกับแมว
แมวเรียนรู้วิธีการสื่อสารกับเจ้าของอยู่เสมอ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อทำการเรียนรู้ หากคุณพยายามสื่อสารกับแมวมากเท่าไร แมวของคุณก็จะสามารถเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้น ดังนั้น ลองสื่อสารกับแมวด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ลองใช้น้ำเสียงที่สูงเล็กน้อย เพื่อบอกน้องแมวถึงความเป็นมิตร และลองใช้น้ำเสียงต่ำ เพื่อบ่งบอกถึงความไม่พอใจหรือความโกรธในการกระทำของเขา
- การใช้การพูดซ้ำๆ เช่น นอน นอน นอน เมื่อคุณต้องการเข้านอน พร้อมทำท่านอนให้แมวเห็น วิธีนี้สามารถช่วยให้แมวของคุณเรียนรู้ที่จะคาดการณ์ถึงกิจกรรมที่สอดคล้องกันกับคำพูดของคุณ ในที่สุดแมวของคุณจะเริ่มเชื่อมโยงเสียงคำซ้ำๆ กับการกระทำของ
นอกจากนี้ ลองใช้ตัวชี้นำในการสื่อสารอวัจนภาษา หรือ Non-Verbal Language ซึ่งสามารถฝึกให้แมวเข้าใจคำศัพท์ได้ แมวอาจเข้าใจอวัจนภาษาโดยสัญชาตญาณ การสร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นพร้อมความคาดหวังที่ชัดเจน รวมทั้งความประหลาดใจเล็กน้อยสามารถช่วยเสริมสร้างความผูกพันครั้งแรกของคุณกับแมวตัวใหม่ได้ เช่น
1. หากคุณกะพริบตาช้าๆ เมื่อสบตากับแมวของคุณและแมวตอบสนองโดยการเข้ามาคลอเคลีย นั่นคือท่าทางที่แมวเข้าใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกคุกคามจากคุณ
2. พยายามอย่าจ้องตาแมวโดยตรง เพราะนั่นเป็นการบอกว่าคุณไม่เป็นมิตรหรือก้าวร้าว
3. หากแมวของคุณต้องการไปที่ไหนสักแห่ง เช่น อยากไปนั่งบนโซฟากับคุณ แต่ดูเหมือนว่าเขาจะไม่มั่นใจ ให้ตบเบาๆ ที่โซฟา และใช้เสียงที่นุ่มนวลและมั่นใจเพื่อเชิญให้เขาเข้าร่วมกับคุณ
4. มีความสม่ำเสมอในเจตนาและการแสดงออกของคุณ ข้อผิดพลาดของทาสแมว หรือคนที่มีสัตว์เลี้ยงหลายคนทำคือ การพูดว่าคำว่า “ไม่”คำพูดนี้จะสร้างความสับสนให้กับสัตว์เลี้ยงของคุณ รวมทั้งแมวเหมียวมาก เช่น หากคุณต้องการให้แมวของคุณไปไกลๆ ตอนนี้ไม่พร้อมเล่นด้วย ใช้การผลักตัวแมวเบาๆ โดยไม่แสดงอาการนิ่งๆ ไม่มีความเสน่หา วิธีนี้จะทำให้แมวรู้ว่าตอนนี้คุณไม่ว่าง ยังไม่ต้องการให้แมวมาอยู่ใกล้ๆ วิธีแบบนี้ใช้ได้ผลแน่นอน รับรองว่าคุณไม่ผิดใจกับแมวน้อยแสนรักของคุณอย่างเด็ดขาด
5. หากคุณรักแมว อย่าตะโกนใส่แมวหรือทำร้ายร่างกายแมวโดยเด็ดขาด การกระทำแบบนี้จะทำให้แมวตกใจ โกรธ ต่อต้าน และหมดความไว้ใจในตัวคุณ
เข้าใจแมวของคุณ
เมื่อเลี้ยงแมวสักต้ว นอกเหนือจากอาหาร ของเล่น และสิ่งต่างๆ ที่คุณพร้อมจะมอบให้ ต้องมีความเข้าใจในแมวน้อยของคุณ และเรียนรู้ที่จะสื่อสารด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อมอบความรัก และความเข้าใจให้กับแมวน้อยสุดที่รักด้วย
1. ทำความเข้าใจว่าแมวสื่อสารได้อย่างไรและทำไม
โดยทั่วไปการเปล่งเสียงไม่ใช่วิธีการสื่อสารที่แมวต้องการ “ภาษาแรก” ของแมวประกอบด้วยระบบกลิ่นที่ซับซ้อน การแสดงออกทางสีหน้า ภาษากายที่ซับซ้อน และการสัมผัส แมวสามารถเข้าใจว่าเราไม่เข้าใจสัญญาณที่ไม่ใช่คำพูดที่แมวส่งถึงเรา ดังนั้น แมวจึงเปล่งเสียงออกมาเพื่อพยายามสื่อสารด้วยภาษาของเรา และสังเกตว่าเสียงใดกระตุ้นให้เกิดการกระทำจากเรา แมวจึงเรียนรู้วิธีการร้องขอหรือเรียกร้องอยู่เสมอด้วยการใช่เสียง
2. สังเกตสิ่งที่อยู่รอบๆ เมื่อแมวร้อง
ลองสังเกตดูว่าทำไมแมวของคุณถึงร้อง เสียงร้องแบบไหนที่แมวมักชอบทำและแมวกำลังต้องการอะไรจากคุณ แม้ว่าเสียงร้องของแมวหรือการแสดงออกจะแตกต่างกัน แต่ก็มีเสียงร้องที่มีความเฉพาะเจาะจงเช่น เสียงครางในลำคอ และเสียงขู่ฟ่อ
- เสียงร้องสั้นๆ ของน้องแมวเป็นการทักทายปกติและการตอบรับทั่วไป
- การที่แมวร้องหลายครั้ง เป็นการแสดงการทักทายอย่างตื่นเต้น พวกมันจะร้องหลายครั้งมากขึ้น หากคุณกลับมาหลังจากออกไปข้างนอกนานๆ
- เสียงร้องระดับกลางมักจะะบ่งบอกถึงการร้องขออะไรบางอย่าง เช่น อาหาร หรือน้ำ
- เสียงร้องลากยาว แสดงว่าแมวกำลังตื้อเพื่อให้ได้ในสิ่งที่อยากได้
- หากแมวมีเสียงร้องต่ำ มักจะบ่งบอกถึงความไม่พอใจ ความโกรธ การเตรียมพร้อมที่จะสู้
3. สังเกตการสื่อสารอื่นๆ ของน้องแมว ที่ไม่ใช่เสียงร้องเหมียว
ถึงแม้ว่าเสียงร้องเหมียวเป็นเสียงที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ แต่แมวก็ยังมีการส่งเสียงร้องแบบอื่นด้วยเช่นกัน
- เสียงครางสั่นในลำคอของแมวเป็นการเชิญให้คุณสัมผัสมันอย่างใกล้ชิด และให้ความสนใจมัน แม้ว่ามันสามารถร้องครางในลำคอได้จากหลายกรณี แต่การร้องแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความพึงพอใจ
- เสียงขู่ฟ่อเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความก้าวร้าวหรือการป้องกันตัวเอง เมื่อแมวเปล่งเสียงแบบนี้ แสดงว่าแมวของคุณกำลังไม่สบายใจ รู้สึกถูกคุกคาม หวาดกลัว และเตรียมพร้อมที่จะสู้
4. สังเกตการเปล่งเสียงพิเศษอื่นๆ
ในขณะที่การเปล่งเสียงประเภทอื่นอาจหาได้ยากกว่าการส่งเสียงร้องเสียงแหบและเสียงแหลม แต่การทำความเข้าใจกับเสียงพิเศษอื่นๆ นี้สามารถช่วยให้คุณตีความการสื่อสารของแมวได้อย่างเต็มที่มากขึ้น เช่น
- แมวร้อง “RRRROWW…” ด้วยเสียงสูง มักบ่งบอกถึงความโกรธ ความเจ็บปวดหรือความรู้สึกหวาดกลัวของแมว
- เสียงร้องประสานระหว่างแมวเหมียว เสียงฟี้ๆ เป็นเสียงทักทายที่เป็นมิตรซึ่งแม่แมวมักใช้เรียกลูกแมวของเธอ
- การร้องเสียงดัง อาจบ่งบอกถึงความเจ็บปวดอย่างกะทันหัน เช่น เมื่อคุณเหยียบหางแมวโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์สำหรับแมวน้อย
ช้อปผลิตภัณฑ์สำหรับแมวน้อยที่ Central Online
นอกจากการเลี้ยงแมวเพราะอยากคลอเดคลีย อยากกอด อยากจูบก้อนนุ่มๆ น่ารักแล้ว อย่าลืมอาหาร ขนม ของเล่น และของใช้จำเป็นให้กับแมวน้อย ที่แสดงถึงความใส่ใจในโภชนาการ และความสุข ของแมวตามประสาทาสแมวอย่างเรา
การเลี้ยงแมว หากคุณมีความพร้อมนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำความเข้าใจแมว การเรียนรู้ภาษากาย และภาษาของแมวนั้นอาจต้องใช้เวลา ทาสแมวอย่างเรา หากรักแมวจริงก็ไม่น่าจะใช่เรื่องยาก มาเรียนรู้ที่จะสื่อสารและทำความเข้าใจกับแมวรักของคุณตั้งแต่วันนี้ รับรองได้ว่าคุณจะได้มากกว่าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยแสนน่ารัก แต่จะได้ความรัก ความผูกพัน และความสัมพันธ์ที่ดีกับแมวของคุณด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก: wukihow.com/http:/petsocietythailand.com
Picture credit: pinterest.com