การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยเฉพาะคุณแม่ให้นมลูกจากเต้าของคุณแม่ แต่ปัญหาสำคัญที่คุณแม่หลายคนพบเจอคือ ไม่สามารถให้นมลูกได้ด้วยตัวเองทั้งวันหรือทั้งคืน เพราะนอกจากเลี้ยงลูกแล้ว คุณแม่เองก็มีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ ไปทำธุระบ้าง ไปทำงานบ้าง จนไม่มีเวลาให้นมลูกด้วยตัวเอง คุณแม่จึงต่อปั้มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้ทานในขณะที่คุณแม่ไม่สะดวกให้นมลูกด้วยตัวเอง การเก็บรักษาน้ำนมแม่นั้นจะต้องเก็บในถุงเก็บน้ำนม ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายแบรนด์และเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับคุณแม่กับลูกน้อยโดยเฉพาะ การใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ เพราะลำดับการใช้งานและการจัดเก็บมีผลต่อลูกน้อยโดยตรง สำหรับถุงเก็บน้ำนมราคาถูกแพงมีให้เลือกซื้อมากมาย เราไปทำความรู้จักถุงเก็บน้ำนมและการเก็บรักษาน้ำนมแม่ในอุณหภูมิต่างๆกันดีกว่า
ถุงเก็บน้ำนมมีแบบไหนบ้าง?
ถุงเก็บน้ำนมผลิตจากพลาสติกที่ปราศจากสาร BPA ผ่านกระบวนการสเตอริไรซ์ มีซิปที่ปิดแน่นสนิท จะช่วยเก็บน้ำนมและรักษาคุณค่าน้ำนมของคุณแม่ให้สด สะอาดและใหม่อยู่เสมอ มีแถบวัดปริมาตรแถบจดบันทึกเวลา วันที่ ปริมาณออนซ์ ชื่อลงบนถุงเก็บน้ำนมและสถานที่จัดเก็บได้ เพื่อง่ายต่อการใช้งาน คุณแม่จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัยต่อลูกน้อย ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
ปกติถุงเก็บน้ำนมที่นำเข้าจากต่างประเทศจะใช้กับเครื่องปั๊มนมโดยตรงได้ทันที แต่มีราคาแพง คุณภาพแทบไม่แตกต่างกัน ถุงเก็บน้ำนมราคามากน้อย เป็นไปตามขนาด จำนวน การใช้งานและยี่ห้อ เรามี ถุงเก็บน้ำนมยี่ห้อต่างๆ มาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นถุงเก็บน้ำนมยี่ห้อ PUR รุ่น 6204 ขนาด 9 ออนซ์ มาพร้อมซิปล๊อก 2 ชั้น ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึม ถุงเก็บน้ำนมยี่ห้อ SUNMUM ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสีแกมมา ปลอดภัยด้วยเส้นซิป 3 เส้นปิดสนิท พร้อมปากถุงทรงโค้งมน เพื่อความสะดวกต่อการรินน้ำนม เป็นต้น แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป คุณแม่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
การใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่
ก่อนที่คุณแม่จะปั้มน้ำนมให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง รวมทั้งดูแลอุปกรณ์ทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนเข้าไปเจริญเติบโตในน้ำนมได้ เมื่อคุณแม่ปั้มน้ำนมออกมาเรียบร้อยแล้ว ให้จัดเก็บน้ำนมใส่ในภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว คุณแม่ที่ปั้มน้ำนมช่วงแรกอาจจะได้ปริมาณน้ำนมน้อยให้จัดเก็บไว้ในขวดน้ำนมพลาสติกก่อน ถ้าปริมาณน้ำนมมากพอค่อยจัดเก็บใส่ในถุงเก็บน้ำนมทีเดียว ปิดปากถุงให้สนิท จากนั้นบันทึกเวลา วันที่ ที่บรรจุให้เรียบร้อย เลือกใช้น้ำนมแบบ “เข้าก่อนออกก่อน” (First in, First out) ตามลำดับ
การเก็บรักษาน้ำนมแม่
เมื่อบรรจุน้ำนมในถุงเก็บน้ำนมเรียบร้อยแล้วให้นำไปเก็บไว้ในตู้เย็นซึ่งเป็นวิธีการเก็บรักษาน้ำนมได้ดีที่สุด สำหรับช่องแช่เย็นธรรมดาที่ไม่มีอาหารอื่นเจือปนจะเก็บได้ถึง 5 วัน แต่หากมีอาหารอื่นเจือปนจะเก็บได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น หากเก็บน้ำนมไว้ในช่องแช่แข็งจะเก็บได้นานถึง 3 เดือน แต่หากมีอาหารอื่นเจือปนจะเก็บน้ำนมได้เพียง 1-2 เดือน หากคุณแม่ต้องการใช้น้ำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลายน้ำแข็งโดยการแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาเอาไว้ล่วงหน้า 1 คืน และเมื่อน้ำนมที่ละลายน้ำแข็งจากการแช่แข็งแล้ว คุณแม่ไม่ควรนำน้ำนมถุงนั้นไปแช่แข็งซ้ำอีกครั้ง ข้อควรระวังคือเก็บน้ำนมในแต่ละถุงให้พอดีกับลูกในแต่ละมื้อ และไม่ผสมระหว่างน้ำนมใหม่กับน้ำนมเก่ารวมกัน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด หรือ ตู้เย็นชนิดพิเศษ
เก็บน้ำนมในช่องแช่แข็งโดยใช้อุณหภูมิ -19 องศาเซลเซียส สามารถเก็บน้ำนมได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู
หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -14 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือน แต่ถ้าอุณหภูมิไม่คงที่ จะสามารถเก็บน้ำนมไว้ได้เพียง 2 สัปดาห์
ตู้เย็นช่องธรรมดา
ถ้าอยู่ที่อุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส เก็บได้ 5 วัน หากเก็บในอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส จะมีเก็บได้เพียง 24 ชั่วโมง
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ
การตั้งทิ้งไว้ในอุณภูมิปกติ ประมาณ 19-22 องศาเซลเซียส หรือ มากกว่า 25 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บน้ำนมไว้ได้เพียง 1-4 ชั่วโมงเท่านั้น
คุณแม่หลายท่านมักทำสต๊อกน้ำนมเก็บไว้ในปริมาณมาก ข้อควรระวังคือน้ำนมในสต๊อกควรหมุนเวียนมาใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน เพราะถึงคุณแม่จะจัดเก็บน้ำนมได้ถูกวิธีและอุณภูมิที่พอเหมาะแล้ว คุณค่าสารอาหารต่างๆ สามารถลดลงได้ตามระยะเวลาที่เก็บ เมื่อคุณแม่นำน้ำนมออกมาใช้ให้ชิมดูว่ามีรสชาติเปรี้ยว บูด เสีย ก่อนจะให้ลูกกินดีที่สุด หากพบว่ามีรสชาติเปรี้ยวๆ ให้ทิ้งน้ำนมนั้นทันทีค่ะ
น้ำนมแม่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพราะมีสารอาหารครบถ้วน สะอาด ปลอดภัย ไม่มีการแพ้ ช่วยสร้างภูมิต้านทานต่างๆ ให้กับลูกน้อยเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทารกที่สุด การจัดเก็บน้ำนมในถุงเก็บน้ำนมก็เช่นกัน ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกใช้ ถุงเก็บน้ำนมยี่ห้อไหน? หรือ ถุงเก็บน้ำนมราคาเท่าไร? สิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญคือลำดับการใช้งานและอุณหภูมิของน้ำนม เพราะมีผลต่อรสชาติและคุณค่าสารอาหารต่างๆ ของน้ำนม