“กระบองเพชร” หรือที่หลายๆ คนเรียกติดปากกันว่า “แคคตัส [Cactus]” เป็นหนึ่งในต้นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเลี้ยงง่าย ไม่ต้องมีประสบการณ์มาก่อนก็สามารถปลูกได้ แต่! มาดามรับรองเลยว่าถ้าได้รู้ 10 เรื่องนี้ก่อนจะทำให้คุณดูแลน้องแคคตัสได้ดีขึ้น นอกจากนี้มาดามยังมีของแถมเป็น “สายพันธุ์” ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันอีกด้วย เผื่อว่าใครจะมองหาไอเดียในการเลือกซื้ออยู่ เรามาดูกันเลยค่ะว่า รายละเอียดจะเป็นอย่างไร
เรามาเริ่มกันด้วยเนื้อหาหลักของเราในวันนี้กันค่ะ ก่อนจะเลี้ยงกระบองเพชรมีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้มากมายเลย มาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง คัดมาให้เน้นๆ ถึง 10 เรื่องด้วยกัน
มีมือใหม่หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า “กระบองเพชร” ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็เหมือนๆ กัน ซึ่งจะกลายเป็นหายนะในเวลาต่อมา เพราะน้องแคคตัสของเราจะตายในเวลาไม่ช้า ดังนั้น การเลือกสายพันธุ์ของ Cactus เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เลยทีเดียว
ถ้าคุณเป็นมือใหม่! มาดามแนะนำให้ลองเริ่มจาก Echinopsis และ Mammillaria เพราะเลี้ยงง่าย ตายยาก การดูแลไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าคุณมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว อยากยกระดับความยากในการดูแลขึ้นไปอีก มาดามก็แนะนำเป็น Astrophytum หรือ Lophophora ที่ต้องศึกษาวิธีในการเลี้ยงพอสมควร
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม: ควรพิจารณาขนาดและลักษณะการเจริญเติบโตของแคคตัสให้ดี บางชนิดอาจโตช้าหรือเร็ว ขนาดใหญ่หรือเล็ก เพื่อคำนวณพื้นที่ที่คุณจะจัดวาง จะช่วยให้คุณสามารถดูแลได้ง่ายขึ้นและทำให้แคคตัสของคุณเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่เหมาะสม
หัวใจของการเลี้ยงแคคตัสให้เจริญเติบโต งอกงามอย่างที่เราคาดหวัง นั่นก็คือ “การเลือกกระถาง” หรือเปรียบเหมือนการเลือกบ้านให้กระบองเพชรนั่นเอง กระถางที่ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ควรเป็นกระถางดินเผา ใช้งานได้ดี เป็นตัวเลือกที่ดีเพราะมีการระบายอากาศที่ดีและดูดซับความชื้นส่วนเกิน หรือถ้าชอบน้ำหนักเบาใช้เป็นกระถางพลาสติกได้ แต่ต้องระวังขอบกระถางที่คมด้วย จะบาดเจ็บเอาได้ตอนเคลื่อนย้าย
- มีรูระบายน้ำเพื่อป้องกันการสะสมน้ำที่อาจทำให้รากเน่า
- มีขนาดพอเหมาะกับแคคตัส ไม่ควรใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้ดินเก็บความชื้นมากเกินไป และไม่ควรเล็กเกินไปเพราะรากจะเจริญเติบโตผิดปกติ
พูดถึงต้นไม้แน่นอนว่า “ดิน” ก็เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย เพราะดินทำหน้าที่เป็นอากาศหายใจนั่นเอง โดยดินที่เหมาะสำหรับแคคตัส สามามารถใช้ได้ ดังนี้
- ดินที่ผสมทรายหยาบและกรวดละเอียดในสัดส่วนที่เหมาะสม
- ดินที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแคคตัส [มักจะมีมีส่วนผสมของทราย พีทมอส และสารอินทรีย์อื่นๆ ที่ช่วยในการระบายน้ำและให้สารอาหารที่จำเป็น]
นอกจากนี้เรื่องดินเอง ก็มีข้อควรรวังเช่นกัน ดังนี้ค่ะ
- การใส่ปุ๋ยในดินที่มากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือซึ่งไม่เป็นผลดีกับแคคตัส
- ไม่ควรทำให้ดินชื้นมากเกินไป เพราะแคคตัสชอบสภาพดินที่แห้ง อาจเพิ่มการระบายน้ำด้วยการโรยหินปูนหรือหินภูเขาไฟบนผิวดิน
เป็นที่ทราบกันดีว่ากระบองเพชรเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่ไม่ใช่ไม่ต้องการเลย อย่าเข้าใจผิดนะคะ โดยการรดน้ำที้ดีต้องมีระเบียบ และควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และแสงแดด ควรรดน้ำเมื่อดินแห้งสนิทเท่านั้น
- ช่วงอากาศร้อน – เป็นช่วงที่ต้องรดน้ำบ่อยขึ้นประมาณทุก 1-2 สัปดาห์
- ช่วงอากาศเย็น – การรดน้ำลงเหลือเพียงเดือนละครั้งก็เพียงพอ
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำจะเป็นช่วงตอนเช้าตรู่ หรือตอนเย็น ที่มีอุณหภูมิจะลดลง เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำเร็วเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการรดน้ำลำต้นเพราะอาจทำให้เกิดโรคหรือรากเน่าได้ ควรรดที่ดินโดยรอบแทน
พื้นที่ในการจัดวางแคคตัสเป็นสิ่งสำคัญมากๆ นั่นก็เพราะว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แคคตัสเจริญเติบโตได้ดี โดยปัจจัยหลักๆ นั่นก็คือ “แสงแดด” ที่จะต้องเพียงพอต่อความต้องการของแคคตัส โดยคุณสมบัติควรมีดังนี้
- แสงแดดส่องถึงอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น บนขอบหน้าต่างหรือระเบียงที่หันหน้าไปทางทิศใต้หรือทิศตะวันตก
- อย่าให้แคคตัสได้รับแสงแดดมากเกินไป อาจทำให้ใบหรือก้านของแคคตัสเกิดการไหม้ได้
หากสังเกตเห็นว่าแคคตัสของเราเริ่มเป็นสีเหลืองหรือขาว ต้องรีบหาผ้าบางๆ หรือผ้ากันแดดเอาไว้ นอกจากนี้ ควรหมุนกระถางแคคตัสเป็นระยะๆ เพื่อให้ทุกด้านของแคคตัสได้รับแสงแดดอย่างเท่าเทียมกัน และช่วยให้แคคตัสเจริญเติบโตอย่างสมดุล ไม่โค้งงอไปในทิศทางเดียวค่ะ
มีเกริ่นๆ ไว้แล้วบ้างนะคะว่าอุณหภูมิโดยรอบนั้นสำคัญมากๆ เรามาเจาะลึกกันว่าอุณหภูมิ ควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ โดยอุณหภูมิที่เหมาะกับกระบองเพชรนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส หรือเรียกได้ว่าอากาศอุ่นๆ นั่นเอง อย่างไรก็ตามกลางวัน กลางคืน แคคตัสเขาชอบไม่เหมือนกันนะ
- กลางวัน – อุณหภูมิที่สูงจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแคคตัส
- กลางคืน – แคคตัสจะชอบอุณหภูมิที่เย็นลงเล็กน้อยเพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้น ดังนั้น ควรให้แคคตัสได้รับการระบายอากาศที่ดีในช่วงกลางคืน
ในช่วงฤดูหนาว แคคตัสของเราจะอยู่ในช่วงพักตัว [Dormancy] ซึ่งในช่วงนี้ควรลดการรดน้ำและหยุดใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการวางแคคตัสใกล้กับแหล่งความร้อน เช่น เตาผิง หรือใกล้หน้าต่างที่มีลมพัดเข้ามาโดยตรง เพราะอาจทำให้แคคตัสเกิดความเครียดและเสียหายได้
ที่ทีคุณจะนำแคคตัสไปปลูกควรเป็นที่ที่ระบายอากาศได้เหมาะสม เพราะมีข้อดีหลายอย่างเลย ดังนี้ค่ะ
- ลดความชื้นที่มากเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิดโรครากเน่าและเชื้อรา
- แคคตัสเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้ค่ะ
- การวางแคคตัสในที่ที่อับชื้นหรือในพื้นที่ที่ไม่มีลมพัดผ่าน เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสะสมในดินและอาจทำให้รากเน่า
- ปลูกแคคตัสหลายต้นในกระถางเดียวกัน เพราะอาจทำให้การระบายอากาศไม่ดีพอ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค
สิ่งที่คุณควรจะทำ คือ างแคคตัสในที่ที่มีลมพัดผ่านเบาๆ หรือใช้พัดลมตั้งโต๊ะช่วยในการระบายอากาศ ผนวกเข้ากับกระถางที่ดีตามคุณสมบัติที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าแคคตัสเป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ต้องการปุ๋ยเหมือนต้นไม้ชนิดอื่นๆ แต่การใส่ปุ๋ยอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้แคคตัสเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ค่ะ
- ควรใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เพราะเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้รากและลำต้นแข็งแรง
- การใช้ปุ๋ยที่มีอินทรีย์สารหรือปุ๋ยหมักจะช่วยให้ดินดี ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแคคตัสได้ดีขึ้น
- ควรใส่ปุ๋ยในช่วงฤดูการเจริญเติบโตเท่านั้น เช่น ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดยปุ๋ยควรละลายน้ำและรดให้ทั่วถึง
- ระวังไม่ให้ใส่ปุ๋ยมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือในดินและเป็นอันตรายต่อแคคตัส ควรใส่ปุ๋ยเพียงครั้งละน้อยๆ ประมาณทุก 4-6 สัปดาห์
- ช่วงฤดูหนาวที่แคคตัสเข้าสู่ช่วงพักตัวควรหยุดใส่ปุ๋ยเพราะแคคตัสจะไม่ต้องการสารอาหารมากนัก
แคคตัสก็เหมือนคนนั่นแหล่ะค่ะ มีโอกาสที่จะป่วยได้เช่นกัน ดังนั้น การเรียนรู้การป้องกันและวิธีรักษาเอาไว้เป็นเรื่องที่ดีมากๆ โดยสิ่งที่คุณต้องระวังมี ดังนี้
- ไรแดงและแมลงหวี่ – ควบคุมได้ด้วยการใช้ยาฆ่าแมลงแบบธรรมชาติหรือแบบเคมีที่ปลอดภัยสำหรับแคคตัส
- การสะสมของฝุ่น – ใช้แปรงขนอ่อนเช็ดทำความสะอาดใบและลำต้นของแคคตัสสม่ำเสมอ
- ตรวจสอบราก – ควรตรวจสอบรากของแคคตัสเป็นระยะๆ โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนกระถาง เพื่อดูว่ารากเน่าไหม
โรครากเน่า เกิดจากการรดน้ำมากเกินไป การใช้ดินที่ระบายน้ำได้ดีและการรดน้ำอย่างระมัดระวังจะช่วยป้องกันโรคนี้ได้ และในกรณีที่แคคตัสเกิดการติดเชื้อหรือโรค ควรตัดส่วนที่เสียหายออกทันทีและทายาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
สิ่งสุดท้าย นั่นก็คือเกร็ดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์ค่ะ แคคตัสสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดหน่อ การเพาะเมล็ด และการแยกราก โดยจะแบ่งให้เข้าใจง่าย ดังนี้ค่ะ
- การตัดหน่อ – เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถทำได้ตลอดทั้งปี โดยเลือกหน่อที่แข็งแรงและยาวเพียงพอ โดยตัดออกจากต้นที่ต้องการและปล่อยให้แห้งสนิทก่อนที่จะปลูกในดินที่เตรียมไว้
- การเพาะเมล็ด – เป็นวิธีที่ยากขึ้น อาจไม่เหมาะกับมือใหม่ แต่ให้ผลลัพธ์ที่หลากหลายและสามารถสร้างแคคตัสชนิดใหม่ได้ การเพาะเมล็ดควรทำในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยใช้ดินที่มีการระบายน้ำดีและเก็บเมล็ดในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง
- การแยกราก – เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับแคคตัสที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีรากหนาแน่นเกินไป การแยกรากควรทำในช่วงที่แคคตัสพักตัว โดยใช้มีดที่คมและสะอาดในการตัดแยกรากและปลูกในกระถางใหม่
รายละเอียดตรงนี้ เป็นเพียงการให้เห็นภาพรวมของการขยายพันธุ์เท่านั้น หากต้องทราบกันตอนที่มีรายละเอียดมากขึ้น ลองไปค้นหากันเพิ่มเติมดูนะคะ
ถึงคิวของ “สายพันธุ์” ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจุบันแล้วนะคะมาดามจนมาให้คุณถึง 5 ชนิดด้วยกัน จะมีแคคตัสพันธุ์ไหนบ้างตามมาดูกันเลยค่ะ
ชื่อสายพันธุ์ | จุดเด่น |
สายพันธุ์: โครีแฟนทา (ช้าง) | เริ่มกันด้วยแคคตัสโครีแฟนทา หรือชื่อน่ารักๆ ที่คนไทยตั้งให้คือ “ช้าง” นั่นเอง มาจากโครีแฟนทาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Coryphantha Elephantidens จุดเด่นของต้นนี้ คือ ลักษณะของต้นที่จะเป็นเต้าหลาย ๆ เต้ารวมกัน และมีหนามออกบริเวณด้านบนของเต้า และมีดอกสวยงาม ขนาดใหญ่ถึง 5 เซนติมเตรเลยทีเดียว ทำให้ได้รับความนิยม ปลูกง่าย เหมาะจะอยู่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก |
สายพันธุ์: แมมมิลลาเรีย (แมม) | ต่อกันด้วยสายพันธุ์ที่เรียกว่า “แมมมิลลาเรีย” นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “แมม” แล้วตามด้วยชื่อของชนิด มีหลากหลายรูปทรงแตกต่างกันออกไป จุดเด่นของแคคตัสต้นนี้คือ ลักษณะของหนามที่ออกมาเป็นกลุ่ม หรือบางชนิดก็มีหนามหนา สานปกคลุมทั่วต้น ทำให้ดูเหมือนมีขนฟูสีขาว วิธีเลี้ยงคือให้โดนแสงให้เต็มที่ เพราะเขาชอบแดดจัด ๆ และลมถ่ายเท |
สายพันธุ์: อิชิโนฟอสซูโลแคคตัส | วงการกระบองเพชรในไทยเรียกน้องต้นนี้ว่า “คลื่นสมอง” ด้วยลักษณะลำต้นที่เป็นร่องลึกซ้อนกัน พร้อมทั้งบิดเป็นเกลียวไปมา น้องเลี้ยงไม่ยากเลยเลี้ยงไม่ยาก แต่จะชอบแดดมากเป็นพิเศษ |
สายพันธุ์: แอสโตรไฟตัม | สำหรับสายพันธุ์ต่อมา กำลังได้รับความนิยมเช่นกัน นั่นก็คือ แคตัสแอสโตรไฟตัม ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือ จุดเด่นของต้นนี้คือ จุดสีขาวที่กระจายไปทั่วต้น ทำให้ดูคล้ายดวงดาว เป็นแคคตัสที่ไม่แตกกอ สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และออกดอกบนยอดบริเวณตุ่มหนาม อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์นี้ไม่ชอบแดดแรงๆ นะ อย่าเผลอให้เขาโดนแดดบ่อย |
สายพันธุ์: ยิมโนคาไลเซียม | อีกหนึ่งสายพันธุ์กระบองเพชรสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สายพันธุ์นี้มีความโดดเด่นในเรื่องของสีลำต้นที่มีหลากหลายแบบ แถมยังเป็นสายพันธุ์เลี้ยงง่ายในสภาพอากาศเมืองไทย แม้โดนแดดจัด ก็ยังสามารถเติบโตได้ดี |
ราคา: | ราคา: 1,290 บาท |
ต้นไม้งามๆ ก็ต้องอยู่บนชั้นวางกระถางต้นไม้สวยๆ สิ ที่จะสมน้ำสมเนื้อกัน แถมยังทำให้ลูกน้อยแคคตัสของเราดูสวย หล่อขึ้นอีกด้วย เพียงคลิ้กทที่ Shop Now ข้างต้นแล้วไปช้อปกันได้เลย แต่สำหรับใครที่ต้องการช้อปปิ้งออนไลน์ สามารถกดกกลับไปช้อปกันได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำที่มีให้คุณได้เลือกช้อปอย่างหลากหลาย
เรียบเรียงโดย: MadameLisa
ขอบคุณภาพจาก: Living Pop/ Chow Cactus/ Mini3Garden